แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณและคุณภาพของนักศึกษาจีนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2567
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณและคุณภาพของนักศึกษาจีนในประเทศไทย ตลอด 6 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง 2567 โดยวิเคราะห์จากแนวโน้มการเติบโตของจำนวนนักศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในไทย การเลือกมหาวิทยาลัยและสาขาวิชา ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาในบริบทของตลาดแรงงานไทยและจีน ปรากฎว่า จำนวนนักศึกษาจีนเพิ่มขึ้นกว่า134% จากปี 2562 โดยมีปัจจัยหลักจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยเฉพาะด้านธุรกิจ วิศวกรรม และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยไทยโดยเฉพาะภาคเอกชน คือ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยชินวัตร และมหาวิทยาลัย แสตมฟอร์ด มีการลงทุนและความร่วมมือกับกลุ่มทุนจีนอย่างเข้มข้น ส่งผลให้หลักสูตรมีความหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความร่วมมือเชิงนโยบายระหว่างรัฐบาลไทย-จีนอย่างเขตการค้าเสรี (FTA) และ EEC ส่งผลบวกต่อการตัดสินใจเรียนต่อของนักศึกษาจีน นอกจากนี้ บัณฑิตจีนที่สำเร็จการศึกษาในไทยมีแนวโน้มได้รับการจ้างงานในภาคธุรกิจจีนที่ลงทุนในไทย โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจ EEC และมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม บัณฑิตจีนยังคงเผชิญความท้าทายเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน และการแข่งขันในตลาดแรงงานของจีน และเสนอโมเดลการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างเทศให้เหมาะต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เนื่องจากนักศึกษาจีนเรียนภาษาไทยลดลง จึงควรให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมและการสร้างเครือข่ายในประเทศไทยเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำได้ สิ่งที่ควรระวังระยะยาวคือความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษา ความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานของตลาดแรงงาน และผลกระทบต่อระบบอุดมศึกษาไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2566). จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาต่างชาติ ปี 2565 (ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567) จำแนกตามสัญชาติ ประเภทสถาบัน ชื่อสถาบัน ชื่อหลักสูตร ระดับการศึกษา และเพศ. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2568 จาก https://info.mhesi.go.th/stat_graduate.php?search_year=2565
กรุงเทพธุรกิจ. (2567). บัณฑิตจบใหม่จีนกว่าครึ่งยัง ‘เตะฝุ่น’ เด็กยุคใหม่หางาน ‘ราชการ’ เป็นหลัก. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2568 จาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1132754?utm_source=chatgpt.com
กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และกรองจันทร์ จันทรพาหา. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 24(1), 123–135.
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2568). รายงานการประชุมกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ Guangxi Science and Technology Normor University. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สำนักข่าวอิสรา. (2566). 10 ปี จีนอันดับหนึ่ง ! ส่องสถิติ น.ศ. ต่างชาติในไทยปี 55-65 เมียนมาครองเบอร์สอง. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2568 จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/115794-isranews-09.html
Campus Star. (2562). นักศึกษาจีนในไทยเพิ่มเป็น 2 เท่า – เหตุผลที่นักศึกษาจีนมาเรียนที่ไทย. Retrieved เมษายน 20, 2568, from https://campus.campus-star.com/education/96588.html
Li yang และวราภรณ์ ไทยมา. (2021). การเติบโตของนักศึกษาจีนและความหลากหลายของหลักสูตร การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. Journal of Legal EntityManagement and Local Innovation, 7(6), 331-346.
Yoyi, T. (2025). YOYI TECH becomes the first company to pass the internet advertising platform capability evaluation for Demand Side Platform (DSP) by China Advertising Association. LinkedIn. Retrieved January 20, 2025, from https://www.linkedin.com/pulse/yoyi-tech
Yu, S. (2024). (2024). Malaysia sees influx of Chinese students amid rising tensions with West. Financial Times. Retrieved Retrieved January 20, 2025, from https://www.ft.com/content/0e42e05d-2549-402d-ad76-bfea48dcb29e?utm_source=chatgpt.com