การอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระปลัดสุธรรมรัตน์ สุจิณฺโณ (พุทโธสิทธิ์)
พระครูวิรัตธรรมโชติ
ไพรัตน์ ฉิมหาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติของประเพณีเรือพระล้อไม้ฯ และข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ ช่างทำเรือพระล้อไม้ พระภิกษุ/คนเฒ่าคนแก่ที่มีความรู้ด้านเรือพระล้อไม้ ชาวบ้านที่มีความเชื่อด้านประเพณีลากพระ คนที่เข้าร่วมประเพณีลากพระ และผู้นำชุมชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ประวัติของประเพณีเรือพระล้อไม้ เป็นประเพณีอันทรงคุณค่าที่สะท้อนศรัทธาในพุทธศาสนาและภูมิปัญญาช่างฝีมือ สมควรสร้างความตระหนักให้เยาวชนรู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ควรสนับสนุนการเรียนรู้และสืบทอดทักษะการต่อเรือพระล้อไม้จากช่างฝีมือท้องถิ่น และแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษาและการสืบค้น 2) ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ในหน่วยงาน 3) ด้านการส่งเสริมการเข้าร่วมในกิจกรรม 4) ด้านการสร้างสื่อที่เกี่ยวข้อง 5) ด้านการสนับสนุนการสร้างศิลปะและงานฝีมือ และ 6) ด้านการสนับสนุนการจัดกิจกรรมของวัด ในปัจจุบันเรือพระล้อไม้กำลังเผชิญความท้าทายในการอนุรักษ์และการฟื้นฟู จึงควรส่งเสริมในการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมอนุรักษ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และบูรณาการประเพณีเข้ากับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม ให้คนในพื้นที่เห็นความสำคัญของการรักษาประเพณีนี้ไว้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
สุจิณฺโณ (พุทโธสิทธิ์) พ. ., พระครูวิรัตธรรมโชติ, & ฉิมหาด ไ. . (2025). การอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 362–371. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8354
บท
บทความวิจัย

References

กรกฎา บุญวิชัย. (2567). อัตลักษณ์ “ความเป็นตรัง” ที่นําเสนอผ่านเรือพระในงานประเพณีลากพระ จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 25(1), 252-267.

กรมศิลปากร. (2526). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 14 (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พยงค์ พรหมชาติ. (2549). “ทัศนศิลป์และความเชื่อที่ปรากฏในเรือพระ เมืองนครศรีธรรมราช”. วารสารศิลปศาสตร์, 27(3), 31-34.

พระครูปริยัติธํารงคุณ และคณะ. (2567). “การส่งเสริมนวัตกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาในการทำเรือพนมพระบนฐานข้อมูลดิจิทัลออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี”. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(1), 1-15.

พระมหาฐิติพงศ์ ชูจิตต์. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการมีส่วนร่วมในการสงวนรักษา ประเพณีชักพระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาพิมล สีไหม. (2553). การส่งเสริมประเพณีชักพระ ของเทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจิตรา อุตมะมุณีย์. (2555). “กระบวนการมีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาขบวนแห่เรือพระชุมชนบ้านเขาแก้ว จังหวัดสงขลา”. วารสารศิลปศาสตร์, 4(2), 51-53.

สุดาวรรณ์ มีบัว. (2567). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีลากพระทางน้ำวัดพัทธเสมา ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 5(2), 95-98.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). ประเพณีพิธีกรรมท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.