นวัตกรรมการบริการลูกค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการ บริษัท เบิร์ดเอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัด ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช

Main Article Content

จักรภัทร์ บัวแก้ว
โศภิน รัตนสุภา
วิชุตา สองเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในนวัตกรรมบริการของบริษัท เบิร์ดเอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัด ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช และวิเคราะห์อิทธิพลของนวัตกรรมบริการที่ ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ บริษัท เบิร์ดเอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัดฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ลูกค้ารายใหญ่ จำนวน 52 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจในนวัตกรรมบริการของบริษัท เบิร์ดเอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัดฯ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ และมีระดับการตัดสินใจใช้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อวิเคราะห์อิทธิพลของนวัตกรรมบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า นวัตกรรมบริการด้านกระบวนการ และด้านสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านเทคโนโลยีไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ผลที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมบริการ ที่ผ่านการคิดอย่างเป็นระบบและเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้บริการมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุงระดับการบริการเพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า โดยเน้นการอำนวยความสะดวก เน้นความรวดเร็วในการให้บริการ รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดำเนินการขนส่งที่ดี

Article Details

How to Cite
บัวแก้ว จ. ., รัตนสุภา โ. ., & สองเมือง ว. . (2025). นวัตกรรมการบริการลูกค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการ บริษัท เบิร์ดเอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัด ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 276–291. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7299
บท
บทความวิจัย

References

กันยากาญจน์ จันทร์เหลี่ยม และพัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการไปรษณีย์ไทย สาขามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 352-364.

ฉัตร โชติช่วง. (2564). คุณภาพงานบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการทรูมูฟสาขา เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

ณิชมน สาริพันธ์ และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 20-31.

ณิชาภัทร บัวแก้ว และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การเปรียบเทียบลักษณะผู้ใช้บริการ คุณภาพบริการที่ได้รับและประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำของบริษัทขนส่ง เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1782-1796.

นลิศา เตชะศิริประภา. (2565). ธุรกิจขนส่งพัสดุ 5 หมื่นล้าน แต่ละแบรนด์แข่งอย่างไรในวันที่ค่าส่งถูกอย่างเดียวไม่พอ. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2567 จาก https://shorturl.asia/2wGHT

บริษัท เบิร์ดเอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัด. (2567). ทำความรู้จักกับ Bird Express. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2567 จาก https://www.birdexpress.co.th

ปาริชาติ ช้วนรักธรรม และคณะ. (2563). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(2), 347-356.

มนู อรดีดลเชษฐ์. (2556). นวัตกรรมบริการ Method, Model and Tool ตอนที่ 1. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2567 จาก http://ictandservices.blogspot.com/2013/09/method-model-and-tool-1.html

ศิริวรรณ เอี่ยมศิริ. (2564). นวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ. พิฆเนศวร์สาร, 17(1), 37-152.

โศภิน รัตนสุภา และคณะ. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการค้าส่ง ของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร Maejo Business Review, 6(1), 1-19.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2548). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Bolton, R. N. et al. (2018). Customer experience challenges: Bringing together digital, physical and social realms. Journal of Service Management, 29(5), 776-808.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York, Harper Collins.

Kerin, R. A. & Hartley, S. W. (2019). Marketing. (4th ed.). New York: McGraw Hill.

Rovinelli, R. J. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion Referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 1(2), 49-60.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Schumpeter, J. A. (1934). The Theory of Economic Development: An Inquiry into Profit, Capital, Credit, Interest and the Business Cycle. New Brunswick (U.S.A) and London (U.K.): Transaction Publishers.

Shelly, M. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowden Huntchisam Press. Inc.

Weng, M. H. et al. (2012). A Study of the Relationship among Service Innovation Customer value and Customer Satisfaction: an industry in TAIWAN. International Journal of Organizational Innovation, 4(3), 98-112.