ผลของการเปรียบเทียบการนำเสนอข้อความภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมต่อสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Main Article Content

วิกรม สุนทรารักษ์
ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์
อุดม หอมคำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้สมรรถนะดิจิทัลของของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ได้รับการนำเสนอข้อความในรูปแบบภาพนิ่งกับนักศึกษาที่ได้รับการนำเสนอความในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว การวิจัยเป็นวิจัยเชิงทดลอง จำนวน 60 คน โดยออกแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการนำเสนอข้อความในรูปแบบภาพนิ่ง และกลุ่มการนำเสนอข้อความในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ได้มาโดยแบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้คณะเป็นหน่วยสุ่มจับฉลากได้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วยหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 7 หลักสูตร และใช้แบบการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และจัดเข้ากลุ่ม เป็นกลุ่มที่นำเสนอข้อความในรูปแบบภาพนิ่ง 30 คน และกลุ่มที่นำเสนอข้อความในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนที่นำเสนอในรูปแบบข้อความภาพนิ่ง และสื่อการสอนที่นำเสนอในรูปแบบข้อความภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบสมรรถนะดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยการนำเสนอข้อความภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัล ของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มการนำเสนอข้อความภาพในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 61.18 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02 กลุ่มการนำเสนอข้อความในรูปแบบภาพนิ่ง  มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 41.43 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนเท่ากับ 0.03 นักศึกษากลุ่มการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบข้อความภาพเคลื่อนไหวมีคะแนนสมรรถนะดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลในรูปแบบข้อความภาพนิ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

How to Cite
สุนทรารักษ์ ว. ., สงวนสัตย์ ข. ., & หอมคำ อ. . (2025). ผลของการเปรียบเทียบการนำเสนอข้อความภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมต่อสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 350–358. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7315
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). ประกาศเรื่องนโยบายศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

เณตรชนก บัวสระ และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2567). การพัฒนาความสามารถการอ่านสะกดคําไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 1-15.

เทอดพงษ์ หงษ์หิรัญเรือง เเละคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะระดับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตรกรรมสื่อสังคม, 7(2), 122-135.

ธิดาใจ จันทนามศรี. (2561). เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจําบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(104), 143-154.

นภัสวันต์ ปิ่นแก้ว และวัตสาตรี ดิถียนต์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ระหว่างสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 33-45.

นุชรัตน์ นุชประยูร เเละคณะ. (2564). การพัฒนาสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 8(2), 1-11.

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2564). เรื่องการสอบวัดระดับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 1 (19 สิงหาคม 2542).

มุสลีมะห์ มูซอ และคณะ. (2567). การพัฒนาทักษะการอ่านอัลกุรอานแบบกีรออาตีโดยใช้สื่อโมชั่นอินโฟกราฟิกแบบเคลื่อนไหวสำหรับผู้เรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง. วาระสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย, 5(1), 17-34.

ศยามน อินสะอาด. (2566). สมรรถนะดิจิทัลของผู้สอนในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน. วารสารอีซีทีเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 18(24), 1-17.

ศิริภรณ์ บุญประกอบ เเละคณะ. (2566). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการรับรู้โดยใช้การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องการเลี้ยงกวางเชิงพาณิชย์ในรูปแบบ 3 ภาษา(ไทย อังกฤษ จีน) กรณีศึกษา เกษตรกรบ้านซําตะเคียนตําบลวังนกแอ่น อําเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 1-9.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ประกาศเรื่อง ด้วยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 2552 เพิ่มเติมในการประชุมครั้งที่ 13/2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.