ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อความสามารถใน การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเพชรผดุงเวียงไชย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเพชรผดุงเวียงไชย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้อง นักเรียนทั้งสิ้น 18 คนได้มา โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปและแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 30 แผน และแบบสังเกต ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.47/85.19 ซึ่งมีผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.47 ซึ่งเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้ง 5 ด้าน สูงขึ้น 3) ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2557). หน่วยที่ 9 เครืองมือวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพ ในเอกสารการสอน ชุดวิชาการวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน หน่วยที่ 8 - 11. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จินดารัตน์ นลินธนาลักษณ์. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ชณิกานต์ ใจดี. (2557). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนิดา รักษาวงศ์. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อพฤติกรรมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กปฐมวัย โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 จังหวัดอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ชาญยุทธ เขมาระกุล. (2557). การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางภาษาและคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่กับแนวคิดไฮสโคป. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธราธิคุณ ระหา. (2559). การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบญจวรรณ คำมา. (2562). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิขาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พีรฉัตร ประกอบตระกูล. (2562). การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย . มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ศิรินยา ใจทอง. (2565). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดอนดู่ จากการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สุมาลี เทพพร. (2561). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลและทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.