การศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคเหนือตอนล่างและ 3) ศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ google Froms การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ร้อยละและค่าเฉลี่ยและสถิติเชิงอนุมานได้แก่ค่าสถิติแบบ t-test และ One-Way ANOVA โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปประมวลผล ผลการวิจัยพบว่าความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.079 เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเล็งเห็นถึงความสำคัญของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากขึ้น โดยการศึกษาตามแหล่งข้อมูลบนเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาสำนักงานบัญชี เพื่อการเข้าใจสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะช่วยในเรื่องการวางแผนภาษีภายในกิจการสำหรับข้อเสนอแนะผู้สนใจสามารถนำเอาผลการศึกษาที่ได้จากการผลงานวิจัยไปพัฒนาแบบสํารวจเพื่อเก็บข้อมูลและศึกษาในพื้นที่และประชากรที่กว้างขึ้นในระดับภูมิภาคอื่นๆและระดับประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าใจสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากยิ่งขึ้นและนําผลของการศึกษามาใช้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสรรพากร. (2565). สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs. เรียกใช้เมื่อ 22 ตุลาคม 2567 จาก https://www.rd.go.th/47331.html
จิณณ์ชญา รณิดา และสุพิน ฉายศิริไพบูลย์. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(1), 470-483.
จิตรเลขา ทาสี และคณะ. (2561). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(37), 11-15.
ดนัย ดำรงชัยโยธิน. (2551). การศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีสรรพากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดาระณี สุรินทรเสรี และคณะ. (2563). สิทธิและประโยชน์ทางด้านภาษีอากรสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 115-129.
นิ่มนวล วิเศษสรรพ และคณะ. (2565). โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(3), 196-214.
ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์. (2552). ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อสังคมกับภาษีอากรในเขตพญาไท. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรนุช กุอุทา. (2562). ความรู้ความเข้าใจในด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), 331-337.
วรรณวิสา หนูห้อง และสุเทพ บูรณะคุณาภรณ์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคําแหง, 2(2), 53-59.
วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล. (2560). มาตรการบัญชีชุดเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับSMEs. วารสารบัญชีปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2(1), 15-24.
สายสมร สังข์เมฆ. (2566). การรับรู้และความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 25(3), 104-117.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). ภาพรวมการให้บริการของศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจรปีงบประมาณ 2565. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2567 จาก https://oss.sme.go.th/oss/nportalno.aspx
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2565). มาตรการภาษียกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 เท่าสนับสนุนการจัดสัมมนานิทรรศการงานแสดงสินค้าภายในประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2567 จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56818
Erle. (2008). Linking QWL and job performamce: Implications for organizations. Performance Improvement, 46(6), 30-35.
Photikham, P. (2022). Factors affecting efficiency in paying corporate income tax of entrepreneursunder the supervision of the Business Tax Administration Division. Retrieved November 23, 2024, from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mmm25/6314131060.pdf