การเสริมพลังองค์กรสร้างสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการพัฒนาในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นองค์กรสร้างสุขของชุมชน 2) พัฒนากระบวนการจิตศึกษาในการเสริมพลังอำนาจศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นองค์กรสร้างสุข และ 3) พัฒนาคู่มือแนวทางการพัฒนาการเสริมพลังองค์กรสร้างสุขแก่ท้องถิ่น เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและประชาชน จำนวน 368 คน ได้จากตารางเปรียบเทียบเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือคือแบบสอบถามความต้องการการพัฒนา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 การศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้คือ ผู้บริหาร บุคลากร และตัวแทนชุมชน จำนวน 30 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง สังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตรวจสอบด้วยเทคนิคสามเส้า และนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการพัฒนาในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นองค์กรสร้างสุขของชุมชน พบว่า โดยรวมมีความต้องการระดับสูง ( = 4.44, S.D = 0.67) 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการจิตศึกษาในการเสริมพลังอำนาจศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นองค์กรสร้างสุข ผ่านกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยรวมอยู่ระดับมาก (μ = 4.17, σ = 0.60) และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการเสริมพลังองค์กรสร้างสุขแก่ท้องถิ่น พบว่า การเสริมพลังองค์กรสร้างสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษามีผลดีหลายด้าน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความมีสติในการตัดสินใจ และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี การฝึกทักษะการทำงานร่วมกันและการเปิดใจในการฟังทำให้เกิดความร่วมมือที่ดี ช่วยลดความขัดแย้งและเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม ลดความเครียด และเพิ่มความพึงพอใจในงาน จะส่งผลให้การการบริการประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
ณฏฐพร สิงห์สร และคณะ. (2567). ความฉลาดทางอารมณ์วิถีพุทธ: การบูรณาการหลักธรรมสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุขยุคพลิกผัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(1), 250-259.
ตัวแทนครู คนที่ 1. (17 ส.ค. 2566). การเสริมพลังองค์กรสร้างสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. (นิภาวรรณ เจริญลักษณ์, ผู้สัมภาษณ์)
ตัวแทนครู คนที่ 2. (17 ส.ค. 2566). การเสริมพลังองค์กรสร้างสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. (นิภาวรรณ เจริญลักษณ์, ผู้สัมภาษณ์)
ตัวแทนครู คนที่ 3. (17 ส.ค. 2566). การเสริมพลังองค์กรสร้างสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. (นิภาวรรณ เจริญลักษณ์, ผู้สัมภาษณ์)
ตัวแทนผู้บริหาร. (14 ส.ค. 2566). การเสริมพลังองค์กรสร้างสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. (นิภาวรรณ เจริญลักษณ์, ผู้สัมภาษณ์)
เทศบาลตำบลบางแพ. (2566). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลบางแพ. ราชบุรี: เทศบาลตำบลบางแพ.
ธัญญลักษณ์ ไพฑูรย์ และชำนาญ ปาณาวงษ์. (2565). การเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลง เชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(1), 145-158.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
พรพรหมพรรณ บุญโคกล่าม และคณะ. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(5), 142-152.
รวิวรรณ สุทธิสุวรรณ และคณะ. (2567). การศึกษาและวิเคราะห์การส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตในการบริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนทุ่งขนานวิทยา อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(3), 227-236.
เริงวิชญ์ นิลโคตร และคณะ. (2567). การจัดการความรู้และการเสริมพลังชุมชนแห่งการเรียนรู้บนฐานพุทธธรรม: มิติหลักสัปปุริสธรรม. วารสารวิจัยนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยี, 2(3), 1-11.
วิทยา เต่าสา และสุทธิษา สมนา. (2567). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาครูสังคมศึกษาด้วยกระบวนการจิตปัญญาศึกษา. วารสารราชนครินทร์, 21(2), 103-113.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Deci, E. L. & Ryan, R. M. (2000). The "what" and "why" of goal pursuits: Human needs and the self-determination of behavior. Psychological Inquiry, 11(4), 227-268.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Detesrmining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Rand Mc Nally.