แนวทางการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

Main Article Content

สายธาร ชาญรบ
พณกฤษ บุญพบ
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยมีกระบวนการวิจัย ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 86 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครูระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป จำนวน 3 คน ได้มาโดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการตามองค์ประกอบหลักในการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า ด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล จำนวน 6 ด้าน 30 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) การประสานความร่วมมือ 3) ด้านการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 4) ด้านการตั้งเป้าหมายและวางแผนร่วมกัน 5) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 6) ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ชาญรบ ส. ., บุญพบ พ. ., & ชัยเรือง น. (2025). แนวทางการบริหารแบบสร้างความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 212–226. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7238
บท
บทความวิจัย

References

จิรารัตน์ วงศ์โยธา. (2567). แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 156-177.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัญญชิตา ศรีชัย. (2563). HR กับการสร้างการทำงานแบบ Collaborative Working Team เพื่อฝ่าทุกวิกฤตสถานการณ์. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2567 จาก https://th.hrnote.asia/qaarticle/collaborative-working-team/

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(2), 37-46.

นพรัตน์ ทัดรอง และคณะ. (2564). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 329-344.

ประพัทธ์ รัตนอรุณ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศักรินทร์ สมพิศนภา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน นิพนธ์ดุษฎีการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2567 จาก http://www.nst1.go.th/home/wp-content/uploads/2023/05/แผน-5-ปี_compressed.pdf

สุดารัตน์ แก้วสมบัติ และคณะ. (2565). ความต้องการจำเป็นของความร่วมมือในการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(1), 150-161.

สุรเดช รอดจินดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคเหนือตอนบน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Office of the Civil Service Commission. (2020). Workforce in the 21st Century. Civil Service E Journal, 62(2), 1-12.