ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย มูลค่า 20 - 80 ล้านบาท ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยมูลค่า 20 - 80 ล้านบาท ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย มูลค่า 20 - 80 ล้านบาท ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย มูลค่า 20 - 80 ล้านบาท ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือวัดผลและเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40 - 50 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่เลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทวิลล่า รองลงมา คือ บ้านพักตากอากาศ ราคาเฉลี่ย 20 - 40 ล้านบาท และซื้อเพื่อต้องการลงทุนและเป็นที่พักอาศัย บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ คือ สมาชิกในครอบครัว ปัจจัยการตัดสินใจซื้อ โดยภาพรวมมีระดับความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย มูลค่า 20 - 80 ล้านบาท พบว่า ลำดับที่หนึ่ง คือ แบบบ้าน การคมนาคม และคุณภาพงานก่อสร้าง รองลงมา คือ พื้นที่ ใช้สอย ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อาชีพ เหตุผลที่เลือกซื้อ และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชื่นสุมน พลสมัคร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐานเศรษฐกิจ. (2568ก). ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าเศรษฐกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/editorial/616035
__________. (2568ข). อสังหาฯ ภูเก็ต 68 คาดยังโตสวนกระแส คอนโด-วิลล่า ทำเลทอง ฮอตปรอทแตก! เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.thansettakij.com/real-estate/616062
วริศรา สมะตะ. (2566). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยมือสองของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษา พื้นที่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต - สนามเป้า. ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีณา ถิระโสภณ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย. (2567). สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ตล่าสุด 2567. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.area.co.th/t/7867
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ. (2568). ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยปี 2567 - 2568 ยังเผชิญความท้าทายจาก ‘กำลังซื้อฟื้นตัวช้า’. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://thestandard.co/market-focus-thai-property-67-68/
สมิทธ์ เจิน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัยในปี พ.ศ. 2557. ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์การเมืองและการผังเมือง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรเชษฐ์ เหล่าพูนสุข. (2568). การทางพิเศษฯ ชู 2 โครงการเรือธง ประมูลปีนี้กว่า 3 หมื่นล้าน. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1160749
อัครพงศ์ ศศอภิภูวงศ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาเซียน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.