ปัญหาการขอสัญชาติไทยของคนต่างด้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครังนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาการแก้ปัญหาการขอสัญชาติขององค์การระหว่างประเทศ 2) ศึกษาการตรากฎหมายเพื่อรองรับคนต่างด้าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนไร้สัญชาติ คนต่างด้าว ผลการวิจัยพบว่า การไม่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ ประเทศทั้งหลายในปัจจุบัน มักมีสัญชาติเป็นของตนเอง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีสัญชาติอเมริกัน ซึ่งบ่งบอกถึงประชากรในประเทศนั้น การปกครอง ความเป็นรัฐ รวมถึงการมีสัญชาติของประเทศตนเอง จะได้สิทธิ เช่น สิทธิความเป็นคนชาติ สิทธิเสรีภาพในการอยู่อาศัย สิทธิส่วนบุคคล ตามที่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนด ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องคนขอสัญชาติ ที่เข้ามาอยู่ ทำให้ไม่เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ ทำให้ชีวิตไม่มีความมั่นคง หากยึดถือตามหลักสิทธิมนุษยชน ต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติที่ยังไม่ได้รับการดูแล อาทิ การจัดตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีพ การเข้าถึงสิทธิในและสวัสดิการต่าง ๆ เช่น การเข้าถึงสิทธิการรักษาเมื่อเจ็บป่วย การศึกษาเล่าเรียน การทำงาน การศึกษาครั้งนี้เพื่อที่จะลดข้อปัญหาการขอสัญชาติของคนต่างด้าว การตรากฎหมายเพื่อรองรับคนต่างด้าว ใช้หลักกฎหมายของไทย รวมทั้งพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการได้สัญชาติรวมถึงอนุสัญญา 1) ศึกษาหลักกฎหมายสัญชาติของต่างประเทศ 2) หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขอสัญชาติขององค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับอนุสัญญาต่าง ๆ และ 3) หาแนวทางแก้ไขปัญหาการขอสัญชาติของคนต่างด้าวในประเทศไทย เพื่อให้คนขอสัญชาติได้มีสัญชาติตามกฎหมายและตามพระราชบัญญัติสัญชาติของไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิติวรญา รัตนมณี. (2563). แนวคิดทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการไร้สัญชาติและสัญชาติสถานการณ์ความ ขาดแคลนในตำบล. วารสารกฎหมายมหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1), 31-32.
ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง. (2551). คนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลในรัฐไทย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลิต ชีช้าง และคณะ. (2552). โครงการวิจัยการสำรวจคนไร้สัญชาติและคนชายขอบในจังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ชุมพร ปัจจุสานนท์. (2549). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นพนิธิ สุริยะ. (2537). สิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นิยม ยาภรณ์. (2562). ปัญหาและการพัฒนาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการของรัฐคนไร้สัญชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 89-106.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชาระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ, หน่วยที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประกอบ ประพันธ์เนติวุฒิ. (2527). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา ตอนที่ 1 แผนกคดีบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว. (2550). คนไร้รัฐขอสัญชาติในรัฐไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา. (2538). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ภาคที่ 1 การจัดสรรเอกชนในระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา. (2544). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ภาคนำ: แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2564). สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2564 จาก https://humanrights.mfa.go.th/
สุไรนี สายนุ้ย. (2563). มลายูไร้สัญชาติ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.