บทบาทของช่องรีแอคชันในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ประเภทซีรีส์วายในประเทศไทย

Main Article Content

อรุชา อมรรุ่งโรจน์
ภานนท์ คุ้มสุภา
ทักษยา วัชรสารทรัพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทของช่องรีแอคชันในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงประเภท ซีรีส์วายในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ คลิปวิดีโอคอนเทนต์รีแอคชันของช่องหนังหน้าโรงเกี่ยวกับซีรีส์วายเรื่อง กลรักรุ่นพี่ จำนวน 4 คลิปและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของช่องหนังหน้าโรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิจัยเอกสารประกอบกับชุดคำถามสำหรับสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างนำไปสู่การใช้ทฤษฎีฐานราก รูปแบบกระบวนที่เป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของช่อง รีแอคชันหนังหน้าโรงในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงประเภทซีรีส์วายในประเทศไทย แบ่งตามการแสดงออกต่อกลุ่มคน 3 กลุ่ม 1) บทบาทที่แสดงออกกับแฟนคลับ ได้แก่ บทบาทของผู้ตอบรับคำเรียกร้อง บทบาทของเพื่อนร่วมแนวคิด บทบาทของผู้ส่งเสริมแง่คิด และบทบาทการเป็นจุดเชื่อมโยง 2) บทบาทที่แสดงออกกับผู้สนับสนุนทางการตลาด ได้แก่ บทบาทของการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ บทบาทของการเป็นผู้ส่งเสริมการขาย บทบาทของการเป็นผู้รีวิวสินค้า และบทบาทของการเป็นช่องทางตอบกลับให้แก่ผู้สนับสนุนทางการตลาด และ 3) บทบาทที่แสดงออกกับผู้ผลิตซีรีส์ ได้แก่ บทบาทการเป็นผู้สร้างการรับรู้ และบทบาทการเป็นช่องทางตอบกลับให้แก่ผู้ผลิตซีรีส์ องค์ความรู้ใหม่ที่พบในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 บทบาท ได้แก่ บทบาทการเป็นจุดเชื่อมโยง บทบาทการเป็นผู้ขยายการรับรู้ และบทบาทการเป็นช่องทางการตอบกลับ ซึ่งแต่ละบทบาทแสดงให้เห็นถึงบทบาทของช่องรีแอคชันที่มีความสำคัญต่อทุกองค์ประกอบของอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงซีรีส์วายในประเทศไทย และขับเคลื่อนพัฒนาซีรีส์วายประเทศไทยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงไทยให้ก้าวหน้า

Article Details

How to Cite
อมรรุ่งโรจน์ อ. ., คุ้มสุภา ภ. ., & วัชรสารทรัพย์ ท. . (2025). บทบาทของช่องรีแอคชันในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ประเภทซีรีส์วายในประเทศไทย. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 327–338. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7309
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติคุณ บุญเย็น. (25 ม.ค. 2568). บทบาทของหนังหน้าโรงในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงซีรีส์วายในประเทศไทย. (นายอรุชา อมรรุ่งโรจน์, ผู้สัมภาษณ์)

จิรภาส เยาว์ธานี. (2563). กลยุทธ์การนำเสนอและกระบวนการสร้างสรรค์สารในสื่อนอกบ้าน เพื่อสนับสนุนนักแสดงซีรีส์วายไทย โดยแฟนคลับ. เรียกใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม 2567 จาก https://digital.car.chula.ac.th/ chulaetd/7399/

ณัฐพล จิตประไพ. (2550). กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าด้วยเครื่องมือการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2567 จาก https://utcc2.utcc.ac.th/localuser/brandthaicenter/arti cle.htm

บุษกร บุษปธำรง. (2566). ตะลุยโลก “Reaction Video” ในยุคที่แม้แต่การเสพสื่อก็ยังเป็นคอนเทนต์. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://www.creativethailand.org/article-read?article_id= 33901

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2563). บทบาทของสื่อมวลชนกับการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต. วารสารวิทยาการจัดการมหาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(1), 1-12.

หนังหน้าโรง. (2563ก). รีแอค! กลรักรุ่นพี่ Love Mechanics EP.1 | En Of Love รักวุ่นๆของหนุ่มวิศวะ #หนังหน้าโรงxกลรักรุ่นพี่. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=-3_6mKekTr0&list=PLlrfXvRrRvlI87hSVdM1RJZWseOGGBkXG

__________. (2563ข). [ENG SUB] React! กลรักรุ่นพี่ Love Mechanics EP.2 | En Of Love รักวุ่น ๆ ของหนุ่มวิศวะ. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v =bOgj8RfuLb0&t=1s

__________. (2563ค). [ENG SUB] Reaction! EP.3 กลรักรุ่นพี่ | En Of Love รักวุ่น ๆ ของหนุ่มวิศวะ #หนังหน้าโรง. เรียกใช้เมื่อ 22 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ot2-MGm_lf0&list=PLlrfXvRRRvlI87hSVdM1RJZWseOGGBkXG&index=4

หนังหน้าโรง. (2563ง). Reaction! EP.4 กลรักรุ่นพี่ | En Of Love รักวุ่น ๆ ของหนุ่มวิศวะ #หนังหน้าโรงxYinWar. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=JFmCBBlWWT8&list =PLlrfXvRrRvlI87hSVdM1RJZWseOGGBkXG&index=5

Datareportal. (2567). Digital 2024: Thailand. Retrieved กุมภาพันธ์ 10, 2568, from https://datar eportal.com/reports/digital-2024-thailand?fbclid=IwAR3uMzd_RzCUxc5s5QqM5N6O26Av6dC 4wDeui3a%20vBdGINndgVP6nOrwjPw

Glaser, B. & Strauss, A. L. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Chicago: Aldine Publishing Company.

Phansuathong, P. (2565). Sponsorship Marketing คืออะไร ยกระดับการสื่อสารได้อย่างไร. Retrieved กรกฎาคม 15, 2567, from https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-sponsorship-marketing/

PwC. (2567). PwC คาดรายได้อุตสาหกรรมความบันเทิงและสื่อไทยแตะ 6.9 แสนล้านบาทในปี 67. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.pwc.com/th/en/press-room/press-release/2024/press-release-20-08-24-th.html

The Potential. (2564). What When Where “Y” การเดินทางของซีรีส์วาย. Retrieved กุมภาพันธ์ 7, 2568, from https://thepotential.org/social-issues/what-when-where-y/