การสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มในมิวสิกวิดีโอ ของศิลปินทีป๊อป

Main Article Content

คณธัช จิรวิวัฒน์วนิช
ภานนท์ คุ้มสุภา
ทักษยา วัชรสารทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อัตลักษณ์ตราสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม 2) ศึกษากลวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ปรากฏ ในมิวสิกวิดีโอของศิลปินทีป๊อป ศึกษาจากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ตราสินค้าและการเล่าเรื่อง โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ตารางวิเคราะห์อัตลักษณ์ตราสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม และตารางองค์ประกอบของโครงสร้างการเล่าเรื่องในมิวสิกวิดีโอ คัดเลือกเฉพาะมิวสิกวิดีโอที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2567 ที่มีการโฆษณาแฝงของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 5 เพลง จาก 4 ตราสินค้า ได้แก่ เพลงแลกเลยปะ (เลย์) เพลงใจเปิดใจ (เป๊ปซี่) เพลง ฟีลลิ่งแบบว่าอู้วว! (เนสท์เล่ เพียวไลฟ์) เพลงใจว่าใช่ (เป๊ปซี่) และเพลงจะเป็นให้ได้เลย (เรดดี้) ผลการศึกษาประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอัตลักษณ์ตราสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม พบว่า ตราสินค้า จะสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้าผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ คือ ตำแหน่งตราสินค้า บุคลิกภาพตราสินค้า เอกลักษณ์ด้านภาพ เอกลักษณ์ด้านเสียง และเอกลักษณ์ด้านพฤติกรรม ด้านกลวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้า ในมิวสิกวิดีโอ พบว่า ทั้ง 4 ตราสินค้าเลือกใช้ศิลปินทีป๊อปที่มีลักษณะสอดคล้องกับเรื่องราว และกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้นำเสนอตราสินค้า โดยพบโครงเรื่อง 2 รูปแบบ คือ การเล่าเรื่องผ่านรูปแบบละคร และการเล่าเรื่องผ่านเนื้อร้อง ร่วมกับการใช้องค์ประกอบการเล่าเรื่องอื่น ๆ ได้แก่ แก่นเรื่อง ความขัดแย้ง ตัวละคร ฉาก มุมมองในการเล่าเรื่อง สัญลักษณ์ เครื่องแต่งกาย และเทคนิคภาพและการสื่อความหมาย เพื่อนำเสนอตราสินค้าผ่านมิวสิกวิดีโอ

Article Details

How to Cite
จิรวิวัฒน์วนิช ค. ., คุ้มสุภา ภ. ., & วัชรสารทรัพย์ ท. . (2025). การสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มในมิวสิกวิดีโอ ของศิลปินทีป๊อป. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 339–349. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7310
บท
บทความวิจัย

References

ณิชา ตั้งความดี. (2555). ทัศนคติของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (generation Y) และเจเนอเรชั่นซี (generation Z) ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการทำการตลาดผ่านดนตรี (music marketing). ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทักษิณา พรบุณยาพงศ์. (2566). Soft power ด้วยการตลาดดิจิทัลในรูปแบบโฆษณาแฝง. เรียกใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม 2567 จาก https://url.in.th/mOJNd

นิวัต พุทธประสาท. (2565). 7 โครงสร้างการเล่าเรื่อง ที่นักเขียนทุกคนควรรู้: Narrative Structures. เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2567 จาก https://porcupinebook.com/7-narrative-structures/

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2567). รวมสถิติและ Insight สำคัญๆของคนไทยกับการใช้ Digital และ Social Media 2024. เรียกใช้เมื่อ 4 สิงหาคม 2567 จาก https://www.popticles.com/insight/thailand-digital-and-social-media-stats-2024/

ปวรรศ จันทร์เพ็ญ. (2556). กลยุทธ์ใหม่กับโฆษณาแฝงในปัจจุบัน. วารสารวิชาการนิเทศสยามปริทัศน์, 12(13), 101-107.

ภูริทัต ว่องพุฒิพงศ์. (2563). ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2567 จาก https://pharmconnection.blogspot.com/2020/09/storytelling.html

สรสิช ลีลานุกิจ. (2567). Spotify เผยศิลปินไทยโต 3 เท่า T-Pop ขึ้นแท่นแนวเพลงอันดับ 1 ในไทยกับชื่อเสียงที่ดังไกลถึงเมืองนอก. เรียกใช้เมื่อ 4 สิงหาคม 2567 จาก https://thestandard.co/spotify-unveiled-thai-artist-3-times-growth/

Center for Nutrition in Schools. (2020). How Can Advertisements Influence Your Food Choices? Retrieved January 27, 2025, from https://cns.ucdavis.edu/news/how-can-advertisements-influence-your-food-choices

Relevant Audience. (2566). 30 สถิติของการทำ Content Marketing ที่นักการตลาดต้องรู้ในปี 2023. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2567 จาก https://www.relevantaudience.com/th/30-statistics-of-content-marketing/

TopTen. (2566). เมื่อ ‘T-Pop’ ถูกชุบชีวิตโดยเทรนด์ ‘วิดีโอสั้น’ สู่โอกาสของแบรนด์ที่จะโกย ‘Fandom’ มาเป็นลูกค้า. เรียกใช้เมื่อ 11 กันยายน 2567 จาก https://positioningmag.com/?p=1447521