อิทธิพลของคุณภาพของอาหารและคุณภาพของบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชญานิศ ประทุมรัตน์
นิตยา มีบุญ
พิชญานันท์ ผลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพของอาหารและคุณภาพของบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริโภคที่เลือกซื้ออาหารอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการจับฉลากเพื่อสุ่มเลือก 1 เขต เป็นตัวแทนจากแต่ละกลุ่มของเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรง (Content Validity) Reliability) โดยค่าสมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมขอมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25 - 35 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.0 และมีระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.0 คิดเป็นร้อยละ 25.24 อาชีพ พนักงานบริษัทมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 49.0 รายได้ 15,001 - 25,000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.0 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่คุณภาพของอาหาร ในขณะที่คุณภาพของบริการไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูล ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดที่เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจ

Article Details

How to Cite
ประทุมรัตน์ ช. ., มีบุญ น. ., & ผลสวัสดิ์ พ. . (2025). อิทธิพลของคุณภาพของอาหารและคุณภาพของบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(5), 13–23. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7910
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ คงธนาคมธัญกิจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบพร้อมทานของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์อิสระมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นัทธมน เดชประภัสสร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านทาง อินเทอร์เน็ต. ใน สารนิพนธ์อิสระมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญญษภา อยู่โพธิ์ทอง. (2557). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวนำชาติเกี่ยวกับอาหารไทย ริมบาทวิถีกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ยศ ลาภกาญจนา. (2562). แรงจูงใจในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของบุคคลวัยทำงาน ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

วารุณี ชาวเสมา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมรับประทานในร้านสะดวกซื้อของ ผู้สูงอายุตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 7(2), 155-168.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). จับตาปี 60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด. เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2563 จาก https://www.kasikornresearch.com

Harrington, R. J. et al. (2012). Generation Y consumers key restaurant attributes affecting positive and negative experiences. Journal of Hospitality & Tourism Research, 36(4), 431-449.

Jun, J. et al. (2014). The effects of health value on healthful food selection intention at restaurants: Considering the role of attitudes toward taste and healthfulness of healthful foods. International Journal of Hospitality Management, 42(10), 85-91.

Namin, A. (2017). Revisiting customers' perception of service quality in fast food restaurants. Journal of Retailing and Consumer Services, 34(5), 70-81.

Reime, B. et al. (2000). Eating habits, health status, and concern about health: A study among 1641 employees in the German metal industry. Preventive Medicine, 30(4), 295-301.