การประเมินประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำชลประทานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ: กรณีศึกษาโครงการฝายน้ำปาย 1 บ้านห้วยเงิน เมืองคอบ แขวงไชยบูรี สปป.ลาว

Main Article Content

สุมัว มัว
กิติชัย รัตนะ
วิพักตร์ จินตนา

บทคัดย่อ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและสำคัญที่สุดต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเป็นประเด็นสำคัญที่หลายภูมิภาคในประเทศลาวกำลังเผชิญอยู่ โครงการฝายน้ำปาย 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเงิน เมืองคอบ แขวงไชยบูรี มีบทบาทสำคัญในระบบชลประทานเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวของเกษตรกร อย่างไรก็ตาม โครงการประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ และนำเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการน้ำของระบบชลประทานและสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนในพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดยการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาจากการจัดกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ออกเป็น 4 กลุ่ม และดำเนินการสัมมนาแบบกลุ่ม (focus group discussion) โดยใช้ประเด็นคำถามที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน ในส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณ ได้มาจากการออกแบบแบบสอบถามชนิดปลายปิด กลุ่มผู้ใช้น้ำหรือกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์มี 52 ครัวเรือน ครอบคลุมใน 3 หมู่บ้าน ซึ่งจัดทำเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำแต่ละราย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การอธิบายแบบเชิงพรรณนา. ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัญหามี 1) กลุ่มผู้ใช้น้ำขาดการประสานงานวางแผนในการใช้น้ำอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือไม่มีรอบเวรในการเปิดปิดน้ำ 2) ลักษณะภูมิประเทศที่ทำให้ไม่สามารถเอาน้ำที่ใช้แล้วของกลุ่มกลางคลองส่งต่อให้กลุ่มท้ายคลองได้ และ 3) ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นคลองระบายน้ำใช้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมถ้ามีฝนตกหนัก 

Article Details

How to Cite
มัว ส. ., รัตนะ ก. ., & จินตนา ว. . (2025). การประเมินประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำชลประทานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ: กรณีศึกษาโครงการฝายน้ำปาย 1 บ้านห้วยเงิน เมืองคอบ แขวงไชยบูรี สปป.ลาว. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(5), 281–298. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7946
บท
บทความวิจัย

References

กรรณสิทธิ์ สะและน้อย. (2560). การบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืนในการทำเกษตรกรรมบริเวณเขื่อนลำพระเพลิงอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

กลุ่มผู้ใช้น้ำฝายน้ำปาย 1. (2563). ระบบการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำฝายน้ำปาย 1. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ทิพพาพร แก้ววิริยาวงศ์. (2554). บทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน กรณีศึกษา : โครงการชลประทานจอมทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนกร กลิ่นนาค. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่: กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. (2561). การสังเคราะห์-สรุปผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาโครงการชลประทานและการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์เศรษฐกิจสูงสุดและ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2559). เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่มีประสิทธิภาพ. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 7(2), 284-289.

ยุภาพร ยุภาส เเละคณะ. (2560). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของผู้ใช้น้ำ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ. วารสารการบริหารปกครอง, 6(2), 324-327.

อรัญญา ภูโคกค้อย และวิษณุ สุมิตสวรรค. (2562). การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. นครศรีธรรมราช: มหาจุฬานาครทรรศน์.

Asian Development Bank. (2021). ADB annual report 2021. Retrieved May 10, 2025, from https://www.adb.org/documents/adb-annual-report-2021

Bouman, B. A. M. & Tuong, T. P. (2007). Field water management to save water and increase its productivity in irrigated lowland rice. Agricultural Water Management, 93(1), 1-12.

Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2015). The state of food and agriculture 2015: Social protection and agriculture-breaking the cycle of rural poverty. Retrieved May 10, 2025, from https://www.fao.org/3/a-i4910e.pdf