การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ คบขุนทด สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปรียาพร ใจนิ่ม สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เพ็ญพนอ พ่วงแพ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การสอนสังคมศึกษา, ศตวรรษที่ 21, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

ทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21 (21ST Century Skills) เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี โลกของเศรษฐกิจและการค้า โลกาภิวัตน์กับเครือข่าย ความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ความเป็นสังคมเมือง ความเป็นสังคมผู้สูงอายุ และความเป็นโลกส่วนตัวอยู่กับตัวเอง สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากขึ้น มีความเป็นสังคมเมืองที่แทรกอยู่ในความเป็นชนบท มีการใช้เทคโนโลยีอํานวยความสะดวก มีการรับ ส่งข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) หรือ PBL เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถ นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีมากวิธีหนึ่ง คือ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และคิดอย่างสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและได้ลงมือปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ จากเรื่องราวและประสบการณ์ที่ตนเองได้พบ สามารถคิดหาคำตอบจากประเด็นปัญหาที่ตนเองสงสัย รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เองอย่างสร้างสรรค์

จากบทความนี้ครูสังคมศึกษาต้องมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของโลกศตวรรษที่ 21 ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างดี เพื่อนำมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาให้ไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน จนเกิดเป็นองค์ความรู้รูปแบบใหม่ที่นอกเหนือจากสิ่งที่อยู่ในตำราเรียน สามารถใช้ชีวิตในสังคมหมู่มากได้อย่างมีความสุข

References

Chanthong, K. (2017). Teaching of Social Studies in the 21st Century. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(2), 227-241.

Delisle, R. (1997). How to use problem-based learning in the classroom. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development.

Makmee, P. (2011). Problem-based Learning. EAU Heritage Journal, 1(1), 7-14.

Office of the Education Council. (2007). Guidelines on learning management approach on Student-Centered Learning, Problem-based learning. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (In Thai)

Phinla, W. (2017). Guidelines for learning management in social studies in the development of critical thinking skills for the 21st century learners. Parichart Journal, Thaksin University, 30(1), 13-34.

Phinla, W. & Phinla, W. (2021). Problem based learning management for social studies teacher in basic education. Journal of Education Mahasarakham Uninersity, 15(2), 34-45.

Panich, V. (2017). Ways to create learning for students in the 21st century.

Walailak Journal of Learning Innovations, 1(2), 3–14.

Permatasari, B. D., Gunarhadi, & Riyadi. (2019). The influence of problem based learning towards social science learning outcomes viewed from learning interest. International Journal of Evaluation and Research in Education, 8(1), 39-46.

Rinrit, S. & Charbudboontarik, S. (2020). Learning management of social studies in 21st century. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 204-212.

Suwannoi, P. (2015). Problem–based Learning: PBL. Retrieved from https://ph.kku.ac.th/ [2022, 27, Sep.]

Schmidt, H. G. (1993). Foundation of problem-based learning: Some exploratory notes. Medical Education, 27, 422-432.

Wannasean, D. (2020). MACRO model: learning management model for the 21st Century. Retrieved from https://regis.dusit.ac.th [2022, 25, Sep.]

Wongcharoen, W. (2561). Learning provision using problem-based learning with augmented reality technology to develop analytical and problem solving thinking skills for Mathayom suksa IV students. (master’s thesis). Dhurakij Pundit University, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

How to Cite

คบขุนทด จ., ใจนิ่ม ป., & พ่วงแพ เ. (2023). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารราชภัฏพระนครวิชาการ, 2(1), 36–46. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_ACA/article/view/1949

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ | Academic Article