แนวคิดการบวชภิกษุณีเถรวาทในสังคมไทย: กรณีศึกษาทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม

ผู้แต่ง

  • ศิรสิทธิ์ บุริศรี สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • จิราภรณ์ สาลิกุล สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • มินตรา เปาป่า สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนษุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • เมฆา วิทยา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนษุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • จิดาภา เก่งกสิกรรม สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนษุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ภูเนตุ จันทร์จิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนษุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ธนกฤต ไชยบุญ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนษุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

แนวคิด, ภิกษุณี, กิจกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิสตรีในการบวชภิกษุณีในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรมในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีเพื่อการบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาทในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มภิกษุณี กลุ่มภิกษุ และกลุ่มอาจารย์/นักวิชาการ

ผลการศึกษาเอกสารพบว่า 1) สิทธิสตรีตามแนวทางการบวชภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเป็นการมองเห็นความสามารถของผู้หญิงในการพัฒนาตนเองโดยสามารถบรรลุธรรมขั้นต่าง ๆ ได้พระพุทธองค์จึงทรงประทานการบวชให้ 2) สิทธิสตรีตามแนวคิดการบวชภิกษุณีในสังคมไทย ได้มองถึงศักยภาพของผู้หญิงที่ไม่ได้ต่างจากผู้ชาย สามารถเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาได้ดังเช่นพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปได้เช่นกัน จึงมีการเรียกร้องสิทธิธรรมในการบวชเกิดขึ้น 3) สิทธิสตรีตามแนวคิดสตรีนิยม เป็นการผลักดันตนเองออกจากระบบความเชื่อเดิม ๆ ผลักดันตนเองอยู่ในสังคมมาอยู่ในโลกสาธารณะ ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า แนวทางการดำเนินกิจกรรมในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรี เพื่อการบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาทในสังคมไทย กิจกรรมที่ควรนำมาดำเนินใน การเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิทางการบวชเป็นภิกษุณีในสังคมไทย ดังนี้ 1) กิจกรรมการสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับภิกษุณี และ 2) กิจกรรมการอบรมให้ความรู้การอบรมให้ความรู้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะ นักบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่ก็จะนำความรู้ทางธรรมมาสอนญาติโยม เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

References

กุลวีร์ ประภาพรพิพัฒน์. (2548). การต่อสู้ของภิกษุณีสงฆ์เถรวาท : จากศรีลังกาสู่ไทย.วารสารพุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม.

ชญาภา สีดาฟอง. (2557).บทบาทการพัฒนาสตรีเชิงพุทธ : กรณีศึกษาวัตรทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม.หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชวิตรา ตันติมาลา. (2555). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 93-103.

ทองย้อย แสงสินชัย. (2557). พุทธบริษัท. (ออนไลน์) 2 ตุลาคม 2557.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20.กรุงเทพฯ :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วุฒิชัย อ่ำบำรุง. (2550).สถานภาพและบทบาทของภิกษุณีในประเทศไทย.หลักสูตรศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2536). ชีวิต, แนวคิด และการต่อสู้ของ “นรินทร์กลึง” หรือ- นรินทร์ภาษิต.กรุงเทพฯ: งานดี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2024

How to Cite

บุริศรี ศ., สาลิกุล จ., เปาป่า ม., วิทยา เ., เก่งกสิกรรม จ., จันทร์จิต ภ., & ไชยบุญ ธ. (2024). แนวคิดการบวชภิกษุณีเถรวาทในสังคมไทย: กรณีศึกษาทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม. วารสารราชภัฏพระนครวิชาการ, 3(2), 15–26. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_ACA/article/view/4626

ฉบับ

บท

บทความวิจัย | Research Article