การมีส่วนร่วมของนิสิตอาเซียน : การศึกษาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ
การศึกษาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยภาวะผู้นำของทั้งผู้บริหารและผู้นำชุมชนต้องเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ความรับผิดชอบในหน้าที่ของของบุคลากรแต่ละระดับบนพื้นฐานของเหตุผลที่ต่างรู้หน้าที่ของตนและดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ตามแผนงานและกิจกรรมที่วางไว้ และเกิดการถอดบทเรียนร่วมกัน
แนวทางการจัดการศึกษาแบบองค์รวมต้องการการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและความอดทนต่อความไม่แน่นอน ผู้สอนต้องบริหารสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้ภาวะผู้นำ การสร้างสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการสร้างภูมิคุ้มกันเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจและพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ เช่น การศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ ทำให้นิสิตได้เรียนรู้การพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยการดำเนินชีวิตตามหลักการเหล่านี้ต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ ยอมรับและให้เกียรติกัน การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ การใช้ความรู้และคุณธรรม ความเป็นอิสระในการดำเนินงาน การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร และการช่วยเหลือในกรณีที่จำเป็น ทุกองค์ประกอบนี้จะช่วยเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่นและชุมชน
References
หนังสือ
คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (ฉบับแก้ไข 2542). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกัฐมนตรี.
จรัส สุวรรณเวลา, (2551). ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ องค์ประกอบมาตรฐาน และดัชนีบ่งชี้ (ม.ป.ท.), หน้า 213-220.
นลินทิพย์ พิมพ์กลัด และ คณะ. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม, (2560). ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, หน้า 99.
ฐนัส มานุวงศ์. (2562). ปีวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. ที่ 6.
ประดาป พิบูลสงคราม. (2554). สร้างความเชื่อมโยงในอาเซียนเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทย. ASEAN Hightlight, หน้า 50-53.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก. (2542). การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
ว.อำพรรณ (บรรณาธิการ). (2555). การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
เอกสารออนไลน์
โพสต์ทูเด. (2559). ยูเอ็นยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง. แหล่งที่มา.ออนไลน์.https://www.posttoday.com/politics/436252)(20 เมษายน 2567).
สุริยา เหมตะศิลป. (2562). ศึกษาศาสตร์กับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สืบค้น 10 เมษายน 2567, จากhttp://www.edu.tsu.ac.th/ major/eva/files/journal/education_.pdf
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). เมืองแห่งการเรียนรู้ (GNLC).. แหล่งที่มา. ออนไลน์. https://bic.mnoe.go.th/index.php/unesco-others-menu/unesco-menu/unesco-gnlc-4-7-2562/(สืบค้น 24 เมษายน 2567.)
สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2566). แหล่งที่มา. ออนไลน์. https://lookerstudio.google.com/reporting/3ae0674e-5d60-489c-983a-fc668ce6bf48/page/INHYD?s=s3ZGAzjNGKQ(6 เมษายน 2567).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562). รายงานการศึกษารูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชา การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2556). ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อดินันท์ บัวภักดี. (2552). รายงานพิเศษผลงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการอนุรักษ์และพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.