แนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี ศรีน้อย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูโอภาสนนทกิตติ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิจัย, วิจัยในชั้นเรียน, สังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและผู้บริหาร จำนวน 179 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน ด้วยการเลือกเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้าน C: Commitment: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรมีความมุ่งมั่นผูกพันในงานเพื่อนําไปสู่เป้าหมาย รองลงมาคือ ด้าน A: Alignment: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรมีแนวทางในการดำเนินการร่วมกันและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทำให้เกิดการยอมรับ ด้าน E: Evaluation: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรติดตามความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่องจนบรรลุวัตถุประสงค์และวัดผลได้ตรงกับความต้องการของบุคลากรและองค์กร และด้าน F: Focus: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการดําเนินงาน 2. วิธีทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ทั้ง  4 ด้าน 1) ด้าน F: Focus 2) A: Alignment 3) C: Commitment และ 4) ด้าน E: Evaluation พบว่า ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูล สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนการวิจัย (ทาน) ส่งเสริมการสื่อสารสุภาพและสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (ปิยวาจา) ส่งเสริมการทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยสร้างแรงบันดาลใจให้ครูร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (อัตถจริยา) และส่งเสริมการทำงานอย่างมีระบบและเสมอต้นเสมอปลาย (อุเบกขา). 3. แนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย 1) F: Focus ผู้บริหารส่งเสริมบรรยากาศที่สนับสนุนการทำวิจัยผ่านการสื่อสารที่ชัดเจน การแบ่งปันความรู้ และการติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การวิจัยประสบความสำเร็จตามแผน 2) A: Alignment ผู้บริหารสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการทำวิจัย พร้อมให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์และส่งเสริมความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข 3) C: Commitment ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลและการสื่อสารที่สร้างสรรค์ พร้อมการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารช่วยสร้างความร่วมมือและความมุ่งมั่นในการทำวิจัยเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน และ 4) E: Evaluation การบริหารงานที่มีระบบชัดเจน พร้อมการสื่อสารที่สร้างขวัญกำลังใจและการติดตามผลอย่างต่อเนื่องให้การทำงานวิจัยประสบความสำเร็จและยั่งยืน

References

Chanphim Wongpracharat. (2002). The role of school administrators in promoting classroom research in primary schools. Under the Suphanburi Provincial Primary Education Office. (Master of Education Thesis, Major in Educational Administration). Graduate School: Kanchanaburi Rajabhat University.

National Education Act B.E. 2542, amended (No. 2) B.E. 2545 and (No. 3) B.E. 2553”. Royal Gazette. (14 August 1999): 9.

Phrakrusangkharak Preecha Thitayano. (2021). Creating relationships between communities and temples According to the 4 principles of SanghaVatthu. Mahachula Nakornrat Journal, 8(6), 82.

Phattharawadee Theppitak. (2007). Research Administration in Educational Institutions Private vocational education Bangkok Area. (Master of Education Thesis Department of Educational Administration) Graduate School: Suan Sunandha Rajabhat University.

Phichit Ritjaroon. (2014). Research practice in the classroom: Every teacher can do it easily. 11th edition. Bangkok: House of Curmist Company Limited.

Piyabutr Rakwong. (2013). Study the leadership of educational institution administrators according to the principles of Sanghawatthu at 4 Saraburi Vocational Colleges, Mueang District, Saraburi Province. (Master of Buddhist Studies thesis Department of Educational Administration). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Suwanan Sarakham, (2022). Academic administration according to the principles of Sangkhahavatthu 4 of administrators of educational institutions under the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 2. (Master of Education Thesis Department of Buddhist Educational Administration). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Wanchai Pruksawan. (2015). Development of a classroom research management model in primary schools under the Office of the Basic Education Commission. (Doctor of Philosophy degree thesis Department of Educational Administration). Graduate School: North Bangkok University.

Yutthana Buaban and others. (2021). Guidelines for academic administration according to the 4 principles of Iddhipada of administrators of educational institutions under supervision. Kalasin Primary Educational Service Area Office 2. Research Report. Faculty of Education, Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khon Kaen Campus.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

ศรีน้อย ส., ภูริปญฺโญ พ. ., & พระครูโอภาสนนทกิตติ์. (2025). แนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 10(1), 82–93. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6887