พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาของสามเณรโรงเรียน พระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • พระมหาเจษฎา เกนสาคู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญเลิศ โอฐสู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กนกวรรณ กรุณาฤทธิโยธิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สร้างสัมมาวาจา, พุทธวิธีการสื่อสาร, บุคลิกภาพ, กระบวนการ, รูปแบบ

บทคัดย่อ

งานวิทยานิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารด้านคำพูดของสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษากระบวนการพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาให้กับสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อเสนอรูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจา โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการศึกษาด้านเนื้อหาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ทฤษฎีกระบวนการการสื่อสารและเอกสารวิชาการอื่นๆ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 27 รูป/คน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
1) สภาพการสื่อสารคำพูดของสามเณรในโรงเรียนวัดพระธาตุบังพวนในปัจจุบัน มีปัญหาการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมในหมู่สามเณร ส่งผลกระทบต่อตัวสามเณรเอง ผู้สอน เพื่อน และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม
2) กระบวนการพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาให้กับสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ควรนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและทฤษฎีการสื่อสารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้เข้าใจกระบวนการสื่อสารและองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักธรรมสัมมาวาจาให้แนวทางในการใช้คำพูดที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบุคลิกภาพ ฝึกสติ สมาธิ และเจริญปัญญา เพื่อควบคุมอารมณ์และคำพูด สร้างความสัมพันธ์ที่ดี สื่อสารด้วยเมตตา เข้าใจผู้อื่น และสร้างความเข้าใจอันดีแก้ปัญหาความขัดแย้งใช้คำพูดที่สร้างสรรค์ในการเจรจาและแก้ปัญหา ส่งเสริมสังคมที่ดีสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารที่ดี ผ่านฝึกอบรมจัดอบรมเกี่ยวกับสัมมาวาจา ทั้งในโรงเรียน องค์กร และชุมชน การใช้สื่อที่ส่งเสริมสัมมาวาจา ฝึกปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและการใช้คำพูด สร้างวัฒนธรรมองค์กรส่งเสริมการใช้สัมมาวาจาในองค์กร รวมทั้งนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วยหลักการปฏิบัติสัมมาวาจาในทุกสถานการณ์
3) รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารการสร้างสัมมาวาจาในสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน โดยใช้กระบวนการ “Pairoh” Model (ไพเราะโมเดล) ที่ประกอบด้วยPerson บุคคล Activity กิจกรรม Impression ความประทับใจ Receive การยอมรับ Often ความสม่ำเสมอ Helpful เป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพด้านการสื่อสารของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการสร้างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในส่งเสริมในการใช้สัมมาวาจา

References

Berlo, D. K. (1960). The process of communication: An introduction to theory and practice. New York: Holt, Rinehart and Winston, p.12.

Interview with Phra Khru Phawanachetibhibal, Director of Wat Phra That Bang Phuan Buddhist School, July 6, 2024.

Namkhet, S. (2013). Kalyanamitta Sutta in the Tipitaka. Graduate Studies Perspective Journal, 9 (Nong Khai Campus Issue, May–August), [pages not specified].

National Office of Buddhism. (2014). Operational manual on laws, regulations, announcements, and orders related to the General Education Division of Buddhist Studies. Bangkok: National Office of Buddhism.

Phra Maha Anan Chayasseno (Banchob Phutsa). (2003). A study of the propagation work of Somdet Phra Thirayanamuni (Theer Punnakamahathera). Master’s thesis in Buddhist Studies, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Maha Wiritthiphon Wiritthichayo (Apivit Chonchat). (2022). Guidelines for developing emotional intelligence according to the principles of Khanti Dhamma among administrators of Buddhist schools, General Education Division, Group 1. Master’s thesis in Education, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Narasak Warathammo (Thammasrijai). (2020). The development of ethical behavior in students from the perspective of Thich Nhat Hanh: A case study of Jittaree School under the patronage of Her Royal Highness Princess Srinagarindra, Mueang District, Lampang Province. Doctoral dissertation in Buddhist Studies, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Somdet Phra Maha Samana Chao Krom Phraya Vajirananavarorasa. (1977). Benja-sila Benja-dhamma [The Five Precepts and Five Virtues]. Bangkok: Mahamakut Buddhist University, pp. 31–33.

Termthanakarn, T. (2003). The influence of role models on imitation behavior and purchase intention for high and low involvement products among teenagers. Master’s thesis in Communication Arts, Graduate School, Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

เกนสาคู พ., โอฐสู บ. ., & กรุณาฤทธิโยธิน ก. (2025). พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาของสามเณรโรงเรียน พระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 10(1), 137–151. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7008