วารสารความขัดแย้งและสันติศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อกระบวนการพิจารณาประเมินคุณภาพบทความ และเพื่อเป็นการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ วารสารความขัดแย้งและสันติศึกษาจึงได้กำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามบทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และผู้นิพนธ์ ดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ

                 1. บรรณาธิการมีหน้าที่กลั่นกรองและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารความขัดแย้งและสันติศึกษา โดยมีการพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
                 2. บรรณาธิการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับศาสตร์ของบทความนั้น ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
                 3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยรายชื่อและข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและผู้นิพนธ์ให้ทราบซึ่งกันและกัน
                 4. บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความด้วยความเป็นกลาง บนฐานของเหตุผลทางวิชาการ ไม่มีอคติหรือเหตุผลส่วนตัวในการพิจารณาและตัดสินบทความของผู้นิพนธ์
                 5. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความหรือผู้นิพนธ์
                 6. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการของวารสารความขัดแย้งและสันติศึกษาอย่างเคร่งครัด และไม่นำบทความไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานหรือบางส่วนของผลงานตนเอง
                 7. ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและกองบรรณาธิการ รวมถึงมีการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและกองบรรณาธิการ


บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

                1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่ตนเองประเมินให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
                2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความควรประเมินบทความในศาสตร์ที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ และมีความรู้ในเนื้อหาของบทความที่ได้รับให้ประเมินอย่างถ่องแท้ มีการประเมิน วิพากษ์ วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
ในการปรับปรุงบทความ
                3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากบทความที่ตนเองได้รับให้ประเมิน
                4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของเนื้อหาบทความเป็นหลัก โดยปราศจากอคติในการประเมินบทความ
                5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินบทความตามกรอบระยะเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนด
                6. หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความที่ได้รับให้ประเมินนั้น ควรจะแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที


บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์

                1. บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารความขัดแย้งและสันติศึกษานั้น จะต้องไม่เคยได้รับการเผยแพร่ในแหล่งใดมาก่อน และ/หรือไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารวิชาการหรือการประชุมวิชาการอื่นใด
                2. บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมานั้นจะต้องเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาของผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์เอง หากมีการอ้างอิงในเนื้อหา ต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความด้วย
                3. ผู้นิพนธ์ที่มีรายชื่อปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความนั้นจริง
                4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่รายงานความคลาดเคลื่อนของข้อมูล ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการศึกษานั้น
                5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่กองบรรณาธิการกำหนดอย่างเคร่งครัด
                6. ผู้นิพนธ์ควรระบุแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย รวมถึงผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)