วัตถุประสงค์ของวารสาร

      วารสารความขัดแย้งและสันติศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และแนวคิดในสาขาความขัดแย้งและสันติศึกษา สิทธิมนุษยชน และจิตตปัญญา

ขอบเขตสาขาวิชาบทความที่เปิดรับ

  • สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษา
  • สาขาวิชาสิทธิมนุษยชน
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชาสังคมวิทยา
  • สาขาวิชามานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมและความหลากหลาย
  • สาขาวิชาความมั่นคง ความรุนแรง และการก่อการร้าย
  • สาขาวิชาจิตตปัญญา

ประเภทบทความที่เปิดรับพิจารณาตีพิมพ์

  • บทความวิจัย เป็นบทความที่นำเสนอผลงานวิชาการ ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยของผู้เขียนที่ได้มีการดำเนินการวิจัยด้วยตนเองหรือคณะวิจัย
  • บทความวิชาการ เป็นบทความที่นำเสนอผลงานที่เกิดจากการศึกษา ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมทางวิชาการ  มีการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เน้นการนำเสนอความรู้ใหม่ ๆ ในเชิงวิชาการของผู้เขียน
  • บทความพิเศษ เป็นบทความที่แสดงข้อมูลและผลงานเชิงวิชาการ ที่มีข้อคิดเห็นที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีความสนใจเป็นพิเศษ
  • บทแนะนำหนังสือ เป็นบทความที่นำเสนอเกี่ยวกับหนังสือที่น่าสนใจ มีการแนะนำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  • บทวิจารณ์หนังสือ เป็นบทความที่มีการให้ข้อคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับหนังสือ และมีการประเมินคุณค่าของหนังสือที่ผู้เขียนสนใจ

ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์
      วารสารความขัดแย้งและสันติศึกษาไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ

นโยบายกำหนดออกเผยแพร่
      ตีพิมพ์เผยแพร่วารสาร จำนวน 2 ฉบับ โดยมีการเผยแพร่แต่ละฉบับ ดังนี้
                 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน
                 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม


กระบวนการพิจารณาบทความวารสาร

           1. ผู้เขียนทำการส่งบทความผ่านทางระบบออนไลน์ โดยส่งบทความได้ที่ https://sotci-thaijo.org/index.php/cpsj_psu
           2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความของผู้เขียนแล้ว กองบรรณาธิการจะทำการพิจารณาตรวจสอบบทความในเบื้องต้นทั้งในส่วนของเนื้อหาและรูปแบบบทความ ว่าเป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนดหรือไม่ หากมีปรับแก้ในเบื้องต้นก็จะแจ้งให้ผู้เขียนทำการปรับแก้ต่อไป
          3. หากบทความผ่านการพิจารณาตรวจสอบในเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการแล้ว กองบรรณาธิการก็จะทำการส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น เพื่อให้ประเมินคุณภาพ โดยทำการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินจำนวน 3 ท่านต่อ 1 บทความ ซึ่งการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒินั้น ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้เขียนบทความแต่อย่างใด และผู้เขียนบทความก็จะไม่ทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเช่นกัน (Double - blinded)
          4. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ และแจ้งผลกลับมายังกองบรรณาธิการเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการก็จะพิจารณาผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดอีกครั้ง เพื่อที่จะทำการแจ้งผลการประเมินในภาพรวมทั้งหมดให้ผู้เขียนบทความทราบต่อไป
                  4.1  กรณีที่ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวมมีความเห็นว่า “ไม่ผ่าน” กองบรรณาธิการจะทำการแจ้งให้ผู้เขียนบทความทราบ และถือว่าสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาบทความนั้น
                   4.2 กรณีที่ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวมมีความเห็นว่า “ผ่าน” และควรมีการปรับแก้เพิ่มเติม กองบรรณาธิการก็จะทำการแจ้งให้ผู้เขียนทราบพร้อมกับให้ผู้เขียนปรับแก้บทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือกองบรรณาธิการต่อไป
          5. เมื่อผู้เขียนปรับแก้บทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือกองบรรณาธิการแล้ว ก็จะต้องส่งบทความฉบับแก้ไขผ่านทางระบบอีกครั้ง
          6. กองบรรณาธิการทำการตรวจสอบบทความฉบับแก้ไขของผู้เขียน
                    6.1 กรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาบทความฉบับแก้ไขแล้วพบว่าการปรับแก้ยังไม่เรียบร้อย ถูกต้อง และสมบูรณ์ กองบรรณาธิการก็จะแจ้งให้ผู้เขียนทำการปรับแก้เพิ่มเติมจนกว่าบทความจะมีความเรียบร้อย ถูกต้อง และสมบูรณ์
                    6.2 กรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาบทความฉบับแก้ไขแล้วพบว่าการปรับแก้มีความเรียบร้อย ถูกต้อง และสมบูรณ์ กองบรรณาธิการก็จะทำการตอบรับการตีพิมพ์โดยการออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ให้ผู้เขียนต่อไป

          ทั้งนี้ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับแก้ความถูกต้องของข้อมูล หรือการจัดรูปแบบบทความเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนด และกองบรรณาธิการสามารถที่จะปฏิเสธการพิจารณา หรือปฏิเสธการตอบรับการตีพิมพ์บทความได้ในทุกขั้นตอนหากเห็นสมควร

          บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารความขัดแย้งและสันติศึกษา อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ คัดลอก หรือเผยแพร่ แต่ขอให้อ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ