จินตธรรม: บทบาทของการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และสื่อเพื่อสันติภาพในชายแดนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทและศักยภาพของนักสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ แก่นสาระ รูปแบบและเนื้อหาสารของสื่อเชิงสร้างสรรค์เพื่อแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้ระเบียบวิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เยาวชน ศิลปิน นักออกแบบ นักสื่อสาร และนักกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่มีความเคลื่อนไหวด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อเปลี่ยนแปลงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบที่เกิดกับปัจเจกบุคคลและชุมชนอันเป็นผลมาจากความขัดแย้ง มีการพูดคุยถกเถียงและแสวงหาความร่วมมือในการลดผลกระทบเชิงลบจากความขัดแย้ง และเพิ่มศักยภาพของบุคคลให้เติบโตทั้งทางกายภาพ อารมณ์ ทัศนคติต่อความขัดแย้งเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในกระบวนการสร้างสันติภาพ มีการใช้การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ในการถักทอสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ห่างเหินและสร้างความหวังในอนาคตร่วมกัน ใช้การสื่อสารเพื่อย้ำให้คนในสังคมตระหนักว่า เสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนใฝ่หา การยอมรับ อัตลักษณ์และการเคารพในความแตกต่างเป็นสิ่งที่สังคมสามารถสร้างได้จริง
ในการสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตาม จินตนาการและการสร้างสรรค์ยังถูกจำกัดโดยโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงโครงสร้างอำนาจซึ่งกลายเป็นปัจจัยกำหนดบทบาทของประชาชนในกระบวนการสร้างสันติภาพ
ข้อเสนอจากงานวิจัยนี้คือ สันติภาพชายแดนภาคใต้จะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อสังคมส่งเสริมการเปิดพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์และพื้นที่ของเสรีภาพในการแสดงออก การให้โอกาสให้ผู้คนในพื้นที่ได้คิดและออกแบบอนาคตของตนเองด้วยความสร้างสรรค์ การหนุนเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพ และสนับสนุนกิจกรรมและแนวทางการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ให้เติบโตและเบ่งบาน
Article Details
References
Bräuchler, B. (2022). Creative Peacebuilding and Resistance in Indonesia. The Asian Pacific Journal of Anthropology, 23(1), 1-19.
Castells, M. (2009). Communication and Power. Oxford University Press.
Cohen, C. (n.d.). Creative Approaches to Reconciliation. Brandeis University. Retrieved June 6, 2022, from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.498.4233&rep=rep1&type=pdf
Deep South Watch. (2023). Deep South Watch Incident Database. Retrieved April 25, 2023, from https://deepsouthwatch.org/th; https://www.facebook.com/deepsouthwatch/photos/a.204695166210322/5863392020340580/
Engvall, A., & Ropers, N. (2020). The Southern Conflict and Its Transformation: An Overview. In A. Engvall et al. (Ed.), Southern Thailand/Patani, Understanding the Dimensions of Conflict and Peace. Peace Resource Collaborative (PRC).
Fairey, T., & Kerr, R. (2020). What Works? Creative Approaches to Transitional Justice in Bosnia and Herzegovina. International Journal of Transitional Justice, 12, 142-164.
Kooyai, K., Kai-nunna, P., Arttanuchit, J., & Chanakan, P. (2020). Public Communication for Conflict Transformation in Peace Process of Thailand’s Deep South Provinces. (Research Report). Prince of Songkla University.
Lamizet, B. (2002). Politique et identité. Presses Universitaires de Lyon.
Lederach, J. P. (2005). The Moral Imagination. The Art and Soul of Building Peace. Orxford University Press.
Lederach, J. P. (2003). The Little Book of Conflict Transformation. Good Books.
Lederach, J. P. (1997). Building Peace: Sustainable Reconciliation in Divided Societies. United States Institute of Peace Press.
Marin, D. (2013). The Creative Communication. Global Education Magazine: International Day of Democracy. Retrieved August 21, 2021, from http://www.globaleducationmagazine.com/creative-communication/
Muslimited. (2018). Just Kidding SHORT FILM. Retrieved July 14, 2022, from https://www.youtube.com/watch?v=oSgpohqPm1Y
Nilaphatama, S. (2020). Roles of people's media for violence negotiation in deep South Thailand's peace process (Ph.D Thesis). National Institute of Development Administration.
Peace Survey Academic Network. (2021). Survey of People’s Opinion on Peace Process in the Deep South: PEACE SURVEY 6. (Report). Center for Conflict Studies and Cultural Diversity, Prince of Songkla University, Pattani Campus. Retrieved January 15, 2023, from https://cscd.psu.ac.th/th/node/342
Peace Survey Academic Network. (2019). Peace Survey: Voice of the People, Voice for Peace, Report for the Press Conference of Peace Survey 5. (Report) Center for Conflict Studies and Cultural Diversity, Prince of Songkla University, Pattani Campus. Retrieved January 15, 2023, from https://cscd.psu.ac.th/en/node/290
Pink, D. (2006). A Whole New Mind – Why Right-Brainers Will Rule the Future. Penguin-Putnam Inc.
Susaro, R., & Padungpong, C. (2019). Arts of Peace for the Youths in the Three Southern Border Provinces. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, (30)2 (May-August), 164-176.
Treré, E. (2019). Hybrid Media Activism: Ecologies, Imaginaries, Algorithms. Routledge.
Yahprung, M. I. (2022) State Multiculturalism and Multiculturalism of the Melayu Muslims: A case study of the dialogue on the Idea of Multiculturalism in Southern Thailand. Journal of Islamic Studies, 13(1), 228-253.