การแสดงออกทางอัตลักษณ์ของนักเรียนโรงเรียนตาดีกา: มุมมองคนรุ่นใหม่ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำศาสนาในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

ฟิรฮานา หะแวกาจิ
ณัฏฐนันท์ ทองนุ่น

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของคนรุ่นใหม่ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำศาสนาในจังหวัดปัตตานี ต่อการแสดงออกทางอัตลักษณ์ของนักเรียนโรงเรียนตาดีกา 2) ศึกษาทัศนคติของนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ต่อการแสดงออกทางอัตลักษณ์ของนักเรียนโรงเรียนตาดีกา และ 3) เสนอแนะการแสดงออกในอัตลักษณ์ของนักเรียนตาดีกาและสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในพื้นที่ การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรมของนักเรียนตาดีกาโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ และวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีสัมภาษณ์เจาะลึกแบบกึ่งโครงสร้าง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย คนรุ่นใหม่ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำศาสนา จำนวนกลุ่มละ 5 คน นักเรียนโรงเรียนตาดีกา จำนวน 2 คน และศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์ วิเคราะห์ หาข้อสรุป อภิปรายผล และเสนอแนะ
           ผลการวิจัยพบว่า มุมมองคนรุ่นใหม่ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำศาสนาในจังหวัดปัตตานี มองว่าการแสดงออกทางอัตลักษณ์ของนักเรียนโรงเรียนตาดีกาเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสม เป็นเรื่องที่ดีงามที่ต้องการสื่อสารให้ทุกคนได้รับรู้ซึ่งอัตลักษณ์ที่ควรมีการแสดงออกของนักเรียนโรงเรียนตาดีกา คือ ภาษามลายู การแต่งกายแบบมลายู และวัฒนธรรมที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การสลาม และการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยการปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น สิ่งแวดล้อม ครอบครัว และพื้นฐานความรู้ด้านศาสนาเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการแสดงออกทางอัตลักษณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้ต้องการแสดงออกทางอัตลักษณ์ โดยนักเรียนโรงเรียนตาดีกามีความรู้สึกภาคภูมิใจ และรู้สึกดีที่สามารถแสดงออกเชิงอัตลักษณ์ และการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์นั้นมีคุณค่าเชิงพหุวัฒนธรรมและมีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมที่หลากหลาย การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจ หน่วยงานรัฐต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์และความเป็นมลายู เพื่อเข้าใจความเป็นตัวตนของนักเรียนโรงเรียนตาดีกา หน่วยงานรัฐต้องเปิดใจและมองการแสดงออกทางอัตลักษณ์ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีประเด็นความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานรัฐควรสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เป็นการแสดงออกทางอัตลักษณ์ และไม่ควรจะมีการกีดกั้น หรือขัดขวางการจัดกิจกรรมหรือการแสดงออกทางอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chotchiu, S. (2011). A Study of the Development of Identity and Uniqueness in Schools under the Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1 (Independent study). Naresuan University.

Fueangfoosakul, A. (2003). Identity: A Review of Theories and Conceptual Frameworks. National Research Council of Thailand. Bangkok.

Hwanlem, D. (2009). The Development of the Concept of Harmonious Culture in a Multicultural Society according to the Perspective of Border Patrol Police officers with Experience Working in the Three Southern Border Provinces. Songkhla: Thaksin University.

ISRA News. (2023, March 31). Dek dek chaidaen tai chu nueng nio phai khwam mankhong? ISRA News Agency. Retrieved from https://www.isranews.org/article/south-slide/117476-symbolone.html

ISRA News. (2023, July 24). Thue rûup klum puan tai doen pharet ta di ka. ISRA News Agency. Retrieved from https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/120466-tadikaparade.html

ISRA News. (2024, May 7). Cosplay baek puen thamhet? tang thim song khabuan parade “tadika samphan.” ISRA News Agency. Retrieved from https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/128379-genpalestinecosplaytt.html

Kraywichian, T. (2016). Morality and Ethics of Executives. Bangkok: Office of the Civil Service Commission

Leepreecha, P. (2004). The Creation and Perpetuation of the Hmong Ethnic Group’s Identity. In Identity Discourse. Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization).

Narongraksakhet, I., Hlangpute, S., & Saha, K. (2012). Developing Curriculum of TADIKAs for Preserving Their Traditional Identities. Al-Nur Journal of Graduate School, 7(12), pp. 15-28.

NationTV. (2024, July 3). Chae sanan khamsang phuwa ying pattani pom “parade tadika” kap “thong palestine”. Nation. Retrieved from https://www.nationtv.tv/news/region/378945443

Phothisita, C. (2006). The Science and Art of Qualitative Research (2nd ed.). Amarin Printing & Publishing. Bangkok.

Sangngoen, S. (1999). Foundations of Thai Culture. Department of Sociology, Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Rajabhat Institute.

Sengpracha, N. (1989). Cultural Foundations. Bangkok: Sirindhorn Anthropology Centre.

Weerasai, B. (1974). Society and Anthropology (2nd ed.). Bangkok: Externet.