การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
- Where available, URLs for the references have been provided.
- The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
คำแนะนำผู้แต่ง
การเตรียมต้นฉบับของวารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองบรรณาธิการจะรับพิจารณากลั่นกรองเฉพาะบทความต้นฉบับที่เป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ต้นฉบับ
- เป็นบทความวิจัย/บทความวิชาการ/บทวิจารณ์หนังสือ ทั้งนี้ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ในสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ วิทยาการเรียนรู้ การอำนวยการเรียนรู้ นวัตกรรมการเรียนรู้ หลักสูตร การสอน การจัดการความรู้ พัฒนาศึกษาและการจัดการเรียนรู้ในชุมชน การบริหารการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต จิตวิทยาการเรียนรู้ วิจัยและสถิติทางการศึกษา การวัดประเมินผล หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม บทความประเภทต่าง ๆ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ
- บทความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
- หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- ข้อความในบทความพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 ต้นฉบับบทความมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ไม่รวมเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
ชื่อเรื่อง
กระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง กรณีบทความภาษาไทย ระบุชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกเว้นบทความภาษาอังกฤษ ที่มีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น
ชื่อผู้เขียน
- ระบุชื่อ – นามสกุลจริง (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ไว้ทางขวามือใต้ชื่อของบทความ
- ระบุเชิงอรรถของผู้เขียน ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่งทางวิชาการ สาขาวิชา ภาควิชา คณะ สถาบัน ตามลำดับ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ
- บทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้บทคัดย่อภาษาอังกฤษก่อนบทคัดย่อภาษาไทย และจำนวนคำไม่เกิน 150 คำ
- บทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้บทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ และจำนวนคำไม่เกิน 150 คำ
- ท้ายบทคัดย่อให้ผู้เขียนกำหนดคำสำคัญ (Keywords) ไม่เกิน 5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เนื้อหา
เนื้อหาบทความควรมีความสอดคล้องกับกระบวนทัศน์การวิจัย และครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ บทนำหรือความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายผล สรุปผลและข้อเสนอแนะ การนำไปใช้ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิงหรือรายการอ้างอิง
ท่านสามารถใช้ต้นแบบสำหรับการจัดทำต้นฉบับได้ทาง Link ด้านล่างนี้
- Template_ต้นฉบับบทความวิจัย
- Template_ต้นฉบับบทความวิชาการ
- Template_ต้นฉบับบทความปริทัศน์
- แบบฟอร์มการส่งบทความ
................................................................................
การอ้างอิง
1. การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้ระบบนาม - ปี (Author - Date Citation System)
- รูปแบบ (นามสกุลผู้แต่ง, ปี ค.ศ. ที่พิมพ์) เช่น (Nakvachara, 2000)
2. รายการอ้างอิงท้ายบทความ/บรรณานุกรม ใช้ระบบแบบ APA (American Psychological Association) โดยรายการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ และต้องใส่ชื่อหนังสือภาษาไทยโดยมีแปลชื่อหนังสือเป็นภาษาอังกฤษใส่ไว้ในวงเล็บ [...] ต่อท้ายชื่อหนังสือภาษาไทย
- รูปแบบ Author. (Year). Thai Title [Translated Title]. Place: Publisher
................................................................................
อ้างอิงจากหนังสือ / Book
รูปแบบ Author. (Year). Thai Title [Translated Title]. Place: Publisher
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
Panit, V. (2015). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง [Transformative Learning] . Bangkok: R.S. Printing.
................................................................................
อ้างอิงจากบทความในหนังสือ / Book Chapter
รูปแบบ Author. (Year). Thai Title of chapter [Translated Title of chapter]. In Editor (ed.), Thai Title of book [Translated Title of book] (Page). Place: Publisher.
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
กิตติ คงตุก. (2561). สู่พังงาแห่งความสุข เพราะจุดหมายไปถึงได้หลายเส้นทาง. ใน ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล (บก.), จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม (น. 252 - 325). ปทุมธานี: โครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
Kongtuk, K. (2018). สู่พังงาแห่งความสุข เพราะจุดหมายไปถึงได้หลายเส้นทาง [Phang Nga of Happiness: Many Paths, One Destination]. In Assatarakul, T. (Ed.), จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม [Convergence of Parallel Lines: People, Communities and Social Entrepreneurship] (pp. 252-325) Pathum Thani: Leadership for the Future Project, Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasat University.
................................................................................
อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ / Theses and dissertations
รูปแบบ Author. (Year). Thai Title of dissertation [Translated Title of dissertation]. (Doctoral thesis or Master's thesis, University). URL.
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
วราลี เนติศรีวัฒน์. (2564). การวิเคราะห์การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนสร้างสรรค์ของครูที่ผ่านการอบรมการใช้เกลียวการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:275725.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
Nethisriwat, W.(2021). การวิเคราะห์การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนสร้างสรรค์ ของครูที่ผ่านการอบรมการใช้เกลียวการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ [Analysis of InstructionalInstructional Design Process for Creative Classrooms by Teachers Following Creative Learning Spiral Training].(Master's thesis, Thammasat University). https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:275725.
................................................................................
อ้างอิงจากวารสาร / Journal
รูปแบบ Author. (Year). Thai Title of article [Translated Title of article]. Title of Journal, volume (issue), page-numbers.
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
ชลิดา จูงพันธ์. (2562). ไดโนเสาร์ในห้องเรียน : การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางบรรพชีวินวิทยาในด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 47(3). 157-174.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
Joongpan, C. (2019). ไดโนเสาร์ในห้องเรียน : การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางบรรพชีวินวิทยาในด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา [Dinosaurs in the Classroom: A Review of Applications of Paleontology in Science Education]. Journal of Education Studies. 47(3). 157-174.
................................................................................
อ้างอิงจากเว็บไซต์ / Website
รูปแบบ Author. (Year, Month date). Thai Title [Translated Title]. Retrieved from URL.
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย. (2564, 16 มิถุนายน). การศึกษาโลกในศตวรรษที่ 21: ระบบยังเหลื่อมล้ำ การเรียนรู้ยังวิกฤต. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.eef.or.th/global-education/.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
Bhurivikrai, K. (2021, June 16). การศึกษาโลกในศตวรรษที่ 21: ระบบยังเหลื่อมล้ำ การเรียนรู้ยังวิกฤต [World education in the 21st century: the system is still inequitable, and learning is still in crisis.]. Retrieved Febuary 9, 2024, from https://www.eef.or.th/global-education/.
................................................................................
อ้างอิงจากการประชุมวิชาการ / proceeding
รูปแบบ Author. (Year). Thai Title of paper [Translated Title of paper]. In Editor (ed.), Thai Title of conference [Translated Title of conference] (Pages). Place: publisher.
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
ฐิติวัลย์ กล้าตลุมบอน และ ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย. (2565). ผลของละครในการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในวัยรุ่นตอนต้น. ใน วรวัชร์ ตั้งจิตรเจริญ (บก.), รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัยทางจิตวิทยาระดับชาติ ประจำปี 2565: ปรับ แปร เปลี่ยนผ่าน (หน้า 11- 22). ปทุมธานี: สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
Klatalumbon, T. & Leesattrupai, C. (2023). ผลของละครในการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในวัยรุ่นตอนต้น [Effect of Drama in Education to Develop Emotional Intelligence in Early Adolescence]. In Tungjitcharoen, W. (Ed.). รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัยทางจิตวิทยาระดับชาติ ประจำปี 2565: ปรับ แปร เปลี่ยน ผ่าน [The Proceedings of the 7th Thailand National Conference on Psychology 2022 (TNCP 2022): Moving Forward Through Challenging Times] (pp. 11-22).Pathum Thani: Department of Psychology, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University.
................................................................................
อ้างอิงจากการสัมภาษณ์ / Interview
รูปแบบ
In-Text Citation:
(Interviewed Person's First Initial. Second Initial. Last Name, personal communication, year)
References:
Interviewed Person's Last Name, First Initial. Second Initial. ( year, month date format). Interview by First Initial. Second Initial. Last Name [Format of recording]. Thai Title of interview [Translated Title of interview], Organization Name archiving interview.
ตัวอย่างตันฉบับภาษาไทย
อ้างอิงการสัมภาษณ์ในเนื้อหา / References
(ไอยเรศ บุญฤทธิ์, ผู้ให้สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2566)
อ้างอิงการสัมภาษณ์ในบรรณานุกรม / In-Text Citation
ไอยเรศ บุญฤทธิ์. (2566, 15 มกราคม). อภิชาติ อ้วนศิริ, ผู้สัมภาษณ์ (เทปบันทึกเสียง). แนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573, รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตัวอย่างการแปลอ้างอิง
อ้างอิงการสัมภาษณ์ในเนื้อหา / In-Text Citation
(Iyared Boonyarit, personal communication, 2024, 15 January).
อ้างอิงการสัมภาษณ์ในบรรณานุกรม / References
Boonyarit, I. (2024). Interview by Apichat Uansiri [Tape recording]. แนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573 [Future trends in education and learning in Thailand in 2030]. Associate Dean for Research and Academic Services of Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasat University.
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความของวารสาร เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยงานคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์