การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พรหมพิริยะ ถ้อยคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา และ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา 2) แบบประเมินมโนทัศน์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสำรวจปัญหาผ่านกรณีศึกษา (Survey though Case studies) 2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Empathize) 3) ขั้นตีความปัญหาและระบุความต้องการ (Define) 4) ขั้นระดมความคิด (Brainstorm) 5) ขั้นสร้างตัวแบบ (Prototype) 6) ขั้นทดลองใช้จริง (Test) และ 7) ขั้นประมวลความรู้ (Conclusion)  2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับ 31.33 คะแนน หรือระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureerat, N., Dangprasert, S., & Viriyanont, T. (2019). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา [The Development of Blended Learning Supporting to Creativity According Creative Economy in Higher Education]. Christian University Journal, 25(3), 14-24

Center for Research and Support of Sustainable Development Goals. (2016). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs [About SDGs]. Retrieved December 12, 2022, from https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/

Chalermsuk, N. (2020). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาศิลปศึกษาตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเรียนศิลปะปฏิบัติที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [The Development of Blended Instructional Model in Art Education Based on Design Thinking and Practical Art Learning Integrated with Cognitive Tools to Enhance Creative Thinking and Artworks of High School Students] (Doctoral dissertation). Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Chalermsuk, C., & Satiman, A. (2019). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาศิลปศึกษาตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเรียนศิลปะปฏิบัติที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [Development of Integrated Instruction Model with Learning and Cloud Computing Intelligent Tool to Enhance Creative Skill and Create Art Work of High School Students]. Journal of Education Studies, 47(1), 81-104.

Chantaranamchoo, N. (2012). เศรษฐกิจสร้างสรรค์: ความหมาย แนวคิด และโอกาสสำหรับประเทศไทย [Creative Economy: Definition, Concept and Opportunity for Thailand]. Journal of Education, Silpakorn University. 10(1), 52-62

Chantong, K. (2017). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 [Teaching of Social Studies in the 21st Century]. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(2), 227-241. doi: 10.14456/asj-psu.2017.40

Kanhadilok, S., Punsumreang, T., & Malai, C. (2019). การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ [A Design of Case Based Learning for Promoting Learning Outcomes in Practicum]. Songklanagarind Journal of Nursing, 39(4), 129-137

Khammanee, T. (2014). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ [Teaching Sciences: The Ability to Plan an Efficient Learning Procedure]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Mangkhang, C. (2016). อนาคตวิทยา: ทฤษฎีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา [Futurology: Theory and Techniques for Organizing Social Studies Learning]. Chiang Mai: Textbooks and Books Project, Faculty of Education, Chiang Mai University.

Phuangprayong, K. (2018). บทบาทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชนไทย [Roles of Creative Economy and Innovative Behavior for Community Enterprise Development in Thailand]. Journal of Development Studies, Thammasat University, 1(1), 220-252.

Plattner, H. (2010). An Introduction to Design Thinking Process Guide. Retrieved from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf

Tiacharoen, S., Wangthanomsak, M., Onsampant, S., Tonwimonrat, S., Suksodkew, V., Rattanasiraprapha, N., & Inrak, S. (2017). รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน [The model of Knowledge Management for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community]. Bangkok: Silpakorn University.

Timcharoen, T., Wannapaisan, C., & Rupavijetra, P. (2022). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ฐานการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ [Development of Design Thinking-Based Learning Innovation to Promote Innovative Thinking Skills of Students at Chiang Mai Vocational College]. Dhammathas Academic Journal, 22(3), 1-12.

Wannapaisan, C. (2016). หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษา [Principles of Economics for Secondary Teachers]. Chiang Mai: Chotana Print Company Limited

Wannapaisan, C. (2020). การวิจัยทางสังคมศึกษา: หลักการและการประยุกต์ [Social Studies Research: Principles and Applications]. Bangkok: Danex Intercorporation Company Limited