อุทยานเมืองเก่าพิจิตร พื้นที่แห่งความทรงจำ

Main Article Content

วรพล ศิริชื่นวิจิตร

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง อุทยานเมืองเก่าพิจิตร พื้นที่แห่งความทรงจำ มุ่งศึกษาประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเล่าและการสื่อสารความทรงจำร่วมทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการสร้างอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ที่มีต่อการรับรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร ผ่านการศึกษาและการตีความด้วยระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ผ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ หนังสืออนุสรณ์จังหวัดพิจิตรที่เขียนโดยส่วนราชการของจังหวัดพิจิตร ตลอดจนเอกสารลายลักษณ์อักษรจำพวกพงศาวดารที่มีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิจิตร ร่วมกับแนวคิดเรื่องพื้นที่แห่งความทรงจำ (Sites of Memory) โดยปิแอร์ นอร่า (Pierre Nora)


ผลการศึกษา พบว่า ความเป็นมาของประวัติศาสตร์เมืองพิจิตร ผ่านเรื่องเล่าของการสร้างเมืองพิจิตร มีส่วนสำคัญในการสื่อสารความทรงจำร่วม ผ่านการสร้างอนุสาวรีย์พ่อปู่พระยาโคตรบอง การจัดประเพณีประจำจังหวัดโดยหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร สะท้อนให้เห็นถึงการผลิตซ้ำของการสร้างพื้นที่ความทรงจำของผู้คนในจังหวัดผ่านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างสำนึกร่วมทางชุมชนที่มีความเป็นมาที่ยาวนาน เพื่อทำให้ผู้คนเกิดสำนึกทางประวัติศาสตร์ของตนเองร่วมกันผ่านพื้นที่ทางกายภาพ


ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์เมืองพิจิตร เรื่องเล่าของการสร้างเมืองพิจิตร ซึ่งอุทยานเมืองเก่าพิจิตรนี้มีส่วนสำคัญในการกอปรสร้างความทรงจำและเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิจิตร ผ่านการสร้างอนุสาวรีย์พ่อปู่พระยาโคตรบอง การจัดประเพณีประจำจังหวัดโดยหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรยังสระท้อนให้เห็นถึงการผลิตซ้ำของการสร้างพื้นที่ความทรงจำของผู้คนในจังหวัดผ่านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างสำนึกร่วมทางชุมชนที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาที่ยาวนานของพัฒนาการชุมชน เพื่อโยงใยไปสู่ความสานประโยชน์ และการอยู่ร่วมกันในพื้นที่ดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chalitanon, N. (1981). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย [Thai Historiography]. Bangkok: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project and Thammasat University Press.

Chuwaen, Y. (2008). ความสำคัญและขอบเขตของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน [The Importance and Scope of Contemporary Local History]. Journal of the Facuty of Arts, Silpakorn University, 25(1), 102-114.

Committee for Consideration and Publishing of Historical Documents, Office of the Prime Minister. (1978). ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 [Collection of Thai Inscriptions Installment I]. Bangkok: Fine Arts Department.

Damrong Rajanupab, HRH. (1963). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 ตอนต้น [Collection of Historical Archives Volume 1: Initially Installment]. Bangkok: Fine Arts Department.

Eawsriwong, N. (1987). หลักฐานและการใช้หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ [The Historical Sources and Their Use for The Study of Southern Local History]. In เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครูระดับมัธยมศึกษาเรื่อง “แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้” [Documents for The Workshop for Secondary School Teachers on The Topic “Educational Guidelines Southern Local History"]. Songkhla: Institute for Southern Thai Studies, Thaksin University.

Fine Arts Department. (2001). เสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ เล่ม 1 [The Tale of Khun Chang Khun Pharn, National Library Version, Volume 1]. Bangkok: Silapa Bannakarn Publishing

Governor's Office Phichit, Ministry of Interior. (1987). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดพิจิตร [The History of Interior in Local Administration: Phichit Province]. Phichit: Juladit Printing.

Hongkananukraw, A. (2009). เรื่องเล่าจากสหาย: รูปแบบและการปรากฎตัวของความทรงจำร่วมจากชุมชนอดีตแนวร่วม พคท. [The Narratives from Former CPT Comrades: Forms and Emergence of Collective memory] (Master’s Thesis). Bangkok: Thammasat University.

Ingkanarota, M., & Trongyangkul, W. (2019). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ [Historiography]. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Jansaeng, A. (2010). ประวัติศาสตร์ชุมชนกับการสร้างตำนานวีรบุรุษผ่านความทรงจำร่วมในเขตจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ [Community history and the creation of heroic legends through collective memory in Nakhon Ratchasima and Chaiyaphum provinces]. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation (TSRI).

Liu, M. (2023). The Functional Sites of “Sites of Memory” in Hungarian-Chinese Bilingual School in Budapest. Ethnographica et Folkloristica Carpathica, (25), 55-66.

McMillan, D.W. and Chavis, D.M. (1986). Sense of community: A definition and theory. American Journal of Community Psychology, 14(1): 6-23

Maha Chakri Sirindhorn, H.R.H. Princess. (2006). บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ [Records of Thai Governance During the Ayutthaya And Early Rattanakosin Periods]. Bangkok: Chulalongkorn University.

Nora, P. (1989). Between Memory and History: Les Lieux de Mémoire. Representations, 26, 7–24. https://doi.org/10.2307/2928520

Ongsakul, S. (2003). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ชุมชนในเชียงใหม่: การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น [Report of Community History Research Project in Chiang Mai: Creating Local History]. Bangkok: The Thailand Research Fund. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:33191

Phichit Provincial Cultural Office. (2013). ๑๐ ชาติพันธุ์ ในจังหวัดพิจิตร [10 Ethnic Groups in Phichit Province]. Phichit: Phichit Provincial Cultural Office.

Phinthuphan, H. (1977). พิจิตรของเรา [Our Phichit]. Phitsanulok: Srinakharinwirot University

Poopongpan, W. (2006). กฎมณเทียรบาลในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาถึง พ.ศ. 2348 [The Palatine Law as A Source for Thai History from the Ayutthaya Period to 1805] (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. Retrieved from https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56661

Santasombat, Y. (2016). ร้อยแปดวิถีทัศน์: สำนึกทางประวัติศาสตร์ [Multi-Paradigm: Historical Consciousness]. Retrieved 5 October 2023, from http://www.friends-without-borders.org/article.htm?detail_id=95#.Vy3SE4R97IV

Srising, S. (1994). รายงานการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมของไทยโซ่งดำ (ลาวโซ่ง) ในจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร [The Report on the culture of Thai Song Dam (Lao Song) in Phitsanulok and Phichit provinces]. Phitsanulok: Naresuan University.

Thammasat University. (1986). ประชุมหนังสือประกอบวิชาประวัติศาสตร์ กฎหมายไทย เล่ม 1 [Collection of Thai Legal History Reference Book, volume I]. Bangkok: Faculty of Law, Thammasat University.

Wongthes, S. (2006). ภูมิสังคมวัฒนธรรม เรื่อง ชื่อบ้านนามเมือง จังหวัดพิจิตร [Geo-Social culture: Local Names in Phichit Province]. Bangkok: Office of the National Culture Commission.