การศึกษาวิเคราะห์เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระสมเพชร อตฺตทีโป (มาตวังแสง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระราชปริยัติวิมล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, ธรรมชาติของมนุษย์, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีธรรมชาติของมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีใจสูง รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์มีความรู้สึกนึกคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักการตัดสินใจ และรู้จักเลือกในสิ่งที่เป็นประโยชน์มนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดจากองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสสารหรือรูป (กาย) และส่วนที่เป็นอสสารหรือนาม (จิตหรือวิญญาณ) กายของมนุษย์ประกอบขึ้นจากหน่วยพื้นฐาน คือ ธาตุ 4 ได้แก่ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยรับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัส ประสาทสัมผัสแต่ละอย่างจะมีอารมณ์หรือวัตถุที่เป็นของเฉพาะตน จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีอยู่จริง โดยอาศัยร่างกายเป็นที่อยู่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่าง จิตเป็นนามธรรมมีความสัมพันธ์กับร่างกาย และมีความสําคัญกว่าร่างกาย มนุษย์มีจิตหรือวิญญาณเป็นธรรมชาติพิเศษ และมีศักยภาพสูงในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เป็นสัตว์ที่มีปัญญาหรือมีเหตุผลในการดําเนินชีวิต ธรรมชาติของร่างกายมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถดํารงอยู่ในภาวะเดิมตลอดไปได้ (อนิจจตา) และถูกบีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในอยู่ตลอดเวลา (ทุกขตา) มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมมาแต่กําเนิด เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณทั้งฝ่ายสูงและฝ่ายต่ำ คอยเป็นแรงผลักดันให้ต้องเกี่ยวข้องกับสังคม มนุษย์ควรแสดงพฤติกรรมที่ดีต่อผู้อื่นและสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-19