กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระสงฆ์

ผู้แต่ง

  • พระนิทัศน์ ธีรปญฺโญ (วงศ์วังเพิ่ม) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมาย, ทรัพย์สิน, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่ม พ.ศ. 2560 มาตรา 5 ทวิ ในพระราชบัญญัตินี้ “คณะสงฆ์” หมายความว่า บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ภิกษุสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า สมมุติสงฆ์ คือ หมู่ภิกษุ ที่ได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูป ขึ้นไปเรียกว่าสงฆ์ ในระบอบประชาธิปไตยมีหลักการให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ในส่วนประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ที่เกี่ยวกับพระภิกษุสงฆ์เรียกร้องเอาทรัพย์สินในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้ แต่เรียกร้องในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ดังในมาตรา 1622 พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 แต่ภิกษุเป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์สินพระภิกษุก่อนอุปสมบทและหลังอุปสมบทแล้ว และทรัพย์สินของพระภิกษุมรณภาพ มีประเด็น ที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ 3 มาตราด้วยกัน เช่น มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มา ในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่ พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม และมาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20