ความมั่นคงด้านประชาธิปไตยของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง กรณีศึกษา การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • คิด วุณดี -

คำสำคัญ:

ความมั่นคง, ประชาธิปไตย, การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านประชาธิปไตยของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง 2) ศึกษาวิเคราะห์ความมั่นคงด้านประชาธิปไตยของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านประชาธิปไตยของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงใน การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำชุมชนและประชาชนได้แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะการไปเลือกตั้งและ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. วิเคราะห์ความมั่นคงด้านประชาธิปไตยของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงควรเน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อการรณรงค์การเลือกตั้งและหาเสียงและปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนคือการรับฟังจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ของบ้านเมืองที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงความไม่เป็นธรรม 3.แนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านประชาธิปไตยคือให้หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนมากขึ้นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทางการเมืองทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะผู้นำชุมชนควรให้ความสำคัญต่อชุมชนทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-31