พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระมหาตั๋ณฑ์ฐวัฒน์ สนฺตจิตฺโน (ถำวาปี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย
  • สมเดช นามเกตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย
  • อภินันท์ จันตะนี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย
  • ฐิติวัสส์ หมั่นกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

      หนังสือเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” ที่ผู้เขียนสนใจและนำมาวิจารณ์ต่อไปนี้เป็นหนังสือด้านวิชาการที่ท่านอาจารย์สมภาร พรมทา แต่งขึ้นเพื่อที่จะศึกษาเปรียบเทียบแนวระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ในแง่มุมมองการวิเคราะห์รากฐานของความรู้แบบวิทยาศาสตร์ว่ามีลักษณะเช่นใด มีความน่าเชื่อถือเพียงใด เพื่อเปรียบเทียบกับการคิดวิเคราะห์รากฐานของพระพุทธศาสนาในประเด็นที่เหมือนกัน ซึ่งการเปรียบเทียบนั้นท่านอาจารย์ได้พยายามเปรียบเทียบและวิเคราะห์อย่างเป็นกลาง แบ่งออกเป็น 3 ภาคใหญ่ๆ รวมเป็น 30 บท โดยหนังสือเล่มนี้เคยตีพิมพ์แล้วครั้งหนึ่งในปีพุทธศักราช 2534 แต่ฉบับที่ผู้เขียนนำมาวิจารณ์นั้นเป็นของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยเนื้อหาของหนังสือนั้นท่านอาจารย์สมภารท่านได้วางกรอบในการเขียนแบ่งเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ โดยกลุ่มแรกเน้นในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย กำเนิดและวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์ ความรู้สองแบบในวิทยาศาสตร์ การตรวจสอบกฎและทฤษฎีในวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กับสิ่งที่อยู่เกินเลยประสาทสัมผัส กลุ่มที่สองในภาคพุทธศาสนาซึ่งประกอบไปด้วย กำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาในฐานะระบบความรู้อย่างหนึ่ง อิทัปปัจจัยตา อุตุนิยามพีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม และการตรวจสอบนิยาม และกลุ่มที่สามคือการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ อันประกอบไปด้วย ความรู้ในพุทธศาสนากับความรู้ในวิทยาศาสตร์รากฐานทางอภิปรัชญาของพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ แนวคิดบางอย่างในวิทยาศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อหลักธรรมในพุทธศาสนา และชาวพุทธควรวางตัวเช่นไรต่อวิทยาศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-01