พระพุทธศาสนากับวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • พระครูญาณปรีชา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย, ประเทศไทย
  • สมเดช นามเกตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย, ประเทศไทย
  • บุญส่ง สินธุ์นอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, มนุษย์กับอาชีพ, วิชาชีพ, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

      มนุษย์ทุกคนย่อมมีความหวังในการประกอบอาชีพ ที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องมีหลักสัมมาอาชีวะ ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่ประชาชนทั่วไป บางส่วนก็ประกอบอาชีพไม่สุจริต เช่นอาชีพค้าขายอาวุธ ค้าขายเนื้อสัตว์ อาชีพค้าขายสุรายาเมา อาชีพค้าขายยาพิษ เป็นต้น บุคคลไม่ควรค้าสิ่งเหล่านี้ เมื่อประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ก็สามารถนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้ เพราะหลักคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นสอนให้คนเป็นคนดี เว้นความชั่วทั้งปวง ศาสนาจึงเป็นประหนึ่งว่า เป็นประทีปส่องโลกให้สว่างไสว ด้วยความรู้แจ้ง และยังสอนให้มนุษย์รู้รักสามัคคี มีความยุติธรรมปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง มีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่อิจฉาริษยาพยาบาทต่อกัน การปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นการปลูกฝังให้คนเป็นคนดีและประกอบอาชีพสุจริต ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมดีงาม เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด เช่นการโกงเขา หลอกลวงเขา และไม่ประกอบอาชีพต้องห้าม ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน วิณิชชาสูตร ว่า ภิกษุทั้งหลาย อุบกสกไม่ควร ค้าขาย 5 ประการนี้  คือ 1) ค้าขายศาสตราอาวุธ 2) ค้าขายสัตว์ 3) ค้าขายเนื้อสัตว์ 4) ค้าขายของมึนเมา และ 5) ค้าขายยาพิษ หลักสัมมาอาชีวะนี้ พุทธศาสนิกชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สำหรับอาชีพในพุทธกาลที่ปรากฎในพระไตรปิฎก โดยระบุอาชีพมี 24 อาชีพ เช่น พลช้าง พลม้า ทาสเรือนเบี้ย พ่อครัว ช่างดอกไม้ นักบัญชี นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่นๆ อาชีพที่อาศัยศิลปะอย่างอื่น ส่วนในคัมภีร์อรรถกถา ได้ระบุชื่อของอาชีพในสมัยพุทธกาลมากกว่าในพระไตรปิฎก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-01