การสำรวจองค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผ่านรายการพอดคาสต์
บทคัดย่อ
หากภาครัฐต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ภาครัฐสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านั้นได้คือองค์ความรู้โดยองค์ความรู้ในปัจจุบันได้ถูกถ่ายทอดอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ดังนั้นประโยชน์ที่ได้รับจากองค์ความรู้เหล่านั้นคือรวดเร็วและสดใหม่อีกทั้งพร้อมนำไปใช้แก้สถานการณ์ต่างๆ ได้ทันเวลา แหล่งขององค์ความรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งได้แก่ พอสคาสต์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพองค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผ่านพอดคาสต์ และ 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผ่านพอดคาสต์ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำประกอบด้วยรายการจากพอดคาสต์จำนวน 58 รายการผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม QDA Miner
ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานภาพด้านองค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นข้อควรปฏิบัติด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นจำเป็นต้องพัฒนาตนเองมากที่สุด การทำงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องการพัฒนาและเพิ่มทักษะ หน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์มีประเด็นที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากที่สุดได้แก่เรื่องเจเนอเรชั่น และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับมหาภาคได้แก่การที่มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรของประเทศ 2) องค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผ่านรายการพอดคาสต์ พบว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของผู้นำมากที่สุดคือการต้องทำให้คนเชื่อมั่นและไว้ใจ ประเด็นที่เกี่ยวข้องทักษะการเป็นผู้นำมากที่สุด คือ การสื่อสาร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นผู้นำมากที่สุดคือ การสร้างการเรียนรู้
References
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.
ณภัทร สงวนแก้ว. (2563). การพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskilling) และเสริมทักษะใหม่ (Upskilling). เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2564 จากhttps://th.hrnote.asia/hrinsight/exclusive-interview-with-gallup/.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2554). การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่า. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. โครงการเอกสารและตำราคณะรัฐประศาสนศาสตร์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2562). การศึกษาระบบการบริหารคนเก่งภาครัฐที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของคนเก่ง กรณีศึกษา: ข้าราชการในระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของสำนักงาน ก.พ. ใน รายงานการวิจัย. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
แม๊กซ์เวลล์, จอห์น ซี. (2552). ความสำเร็จ สร้างได้ทุกวัน. แปลและเรียบเรียงโดย อิทธิพน เรืองศรี. กรุงเทพมหานคร : ดีเอ็มจี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ข้าราชการไทยกับการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2564 จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/civil_officer_th_4.0.pdf.
อานวัฒน์ บุตรจันทร์. (2552). ผลของการสอนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเอง ในรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการกำกับตนเอง ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Becker, Gary S. (1993). Human Capital: A Theoretical and Empirical Analysis with Special Reference to Education, 3rd ed., Chicago: University of Chicago Press.
Dirks, K. T., & Ferrin, D. L. (2002). Trust in leadership: Meta-analytic findings and implications for research and practice. Journal of Applied Psychology, 87(4) ,611- 628.
Geoghegan, Michael,W., Klass, Dan. (2007). Podcast Solutions: The Complete Guide to Audio and Video Podcasting. USA: Friendsof OR SEC ED. USA. APRESS.
Harrison, R. (2002). Learning and Development. London, CIPD.
Hughes, C. (2010). People as technology conceptual model: Towards a new value creation paradigm for strategic human resource development. Human Resource Development Review, 9(1), 48-71.
McAllister, D. J. (1995). Affect- and cognition based-trust as foundations for interpersonal cooperation in organizations. Academy of Management Journal, 38(1), 24-59.
McWhorter, R. R., & Delello, J. A. (2015). Green computing through virtual learning environments. In F. Nafukho (Ed.), Integrating technology into higher education and in the workplace (pp. 1-28). Hershey, PA: IGI Global.
Mishra, A. K. (1996). Organizational responses to crisis: Centrality of trust. Sage.
Brack, J. & Kelly, K. (2012). Maximizing millennials in the workplace. UNC executive development. Retrieved from https://www.kenan-flagler.unc.edu/executive-development/custom-programs/~/media/files/documents/executive-development/maximizing-millennials-in-the-workplace.pdf.
Contino, Diana S. (2004). Leadership Competencies: Knowledge, Skills, and
Aptitudes Nurses Need to Lead Organizations Effectively. Critical Care Nurse, 24 (3): 52-64.
Geoghegan, Michael,W., Klass, Dan. (2007). Podcast Solutions: The Complete
Guide to Audio and Video Podcasting. USA: Friendsof OR SEC ED. USA. APRESS.
Hartford Business. (2014). summer. Millennials to take over by 2025. [online URL;
https://www.hartfordbusiness.com/article/millennials-to-take-over-by-
accessed on August 18,2020.
Scutter, S., Stupans, I., Sawyer, T., & King, S. (2010). How do students use podcasts to support learning? Australasian Journal of Educational Technology, 26(2). https://doi.org/10.14742/ajet.1089.
Storey, John; Ulrich, Dave and Wright, Patrick M. (2019). Strategic Human Resource Management: A Research Overview. State of the Art in Business Research. London: Routledge.
Tripathi, A. and Dhir, S. (2022). HRD interventions, learning agility and organizational innovation: a PLS-SEM modelling approach, International Journal of Organizational Analysis, Vol. ahead-of-print No. ahead-of-print.
Vieira da Cunha, Joao & Antunes, Anabela. (2022). Leading the self‐development cycle in volunteer organizations. European Management Review. 10.1111/emre.12501.
World Economic Forum (WEF). (2020). The Future of Jobs Report 2020 and Global Competitiveness Report 2020 (CGI).
Zimmerling, A. and Chen, X. (2021). Innovation and possible long-term impact driven by COVID-19: manufacturing, personal protective equipment and digital technologies, Technology in Society, 65, 101-541.