การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในช่วงสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัส โคโรนา COVID-19 ของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศาลายา

ผู้แต่ง

  • ณัฐหทัย นิรัติศัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธิสิริ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤติกา ชนะกุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปริญญา ตรีธัญญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักพุทธรรม, ไวรัสโคโรนา COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม 2) เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักพุทธธรรมที่ผู้ให้ข้อมูลนำมาใช้ในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้แก่ หลักความไม่ประมาท สติ สัทธา และปัญญา
2)  การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม (ภาวนา 4) ได้แก่ ด้านกายภาวนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากจะมีการดูแลสุขภาพตนเองเป็นอย่างดีงตามมาตรการสาธารณสุขเพื่อป้องกันการติดหรือแพร่เชื้อโรค ด้านสีลภาวนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางรัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างเคร่งครัด ด้านจิตตภาวนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากสามารถจัดการกับภาวะตื่นตระหนกของตนเองได้ ด้านปัญญาภาวนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากสามารถนำความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ วัตถุประสงค์ข้อ 3 การเสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม มีดังนี้ 1. ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป ควรตั้งสติ และรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
2. ควรนำหลักธรรมมาใช้เมื่อเจอสถานการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนก 3. การเจ็บป่วยทางร่ายกายส่งผลกระทบต่อจิตใจหากทุกคนการมีหลักธรรมในการดำเนินชีวิตจะช่วยให้สามารถก้าวผ่านปัญหาที่เกิดขึ้น 4. เวลาที่มีปัญหาหรือหาทางออกไม่ได้เมื่อนึกถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจะช่วยทำให้มีกำลังใจและมีหลักในชีวิต

 

References

กฤษฎา บุญชัยและคณะ. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID-19. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ความเป็นมาของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จุดเริ่มต้นของเชื้อไวรัส ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19. เรียกใช้เมื่อ 6 มิถุนายน 2564 จาก https://www.mculture.go.th.

จันทิมา ห้าวหาญและพรรณวดี ขำจริง. (2563). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563 หัวข้อ. Community-led Innovation in the Era of Global Changes amidst Covid-19 Crisis: นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด 19. 19 กุมภาพันธ์ 2564 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2564). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤติโควิด 19. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(2), 317-327.

ณัฏฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ธีระ วรธนารัตน์. (2565). อยู่อย่างไม่ประมาทอยู่ร่วมกับโควิด-19 ต่อไปอย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/linech6/.

ไพเราะ มากเจริญ. (2564). การดูแลกายและใจ ตามหลักพุทธศาสนาในสถานการณ์โควิด 19.เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2564 จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view. asp?id=30999.

พระปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน และ พระปัญญารัตนากร. (2563). การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมในยุคโควิด 19. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 115-128.

แพรพรรณ ภูริบัญชา. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ของสถานประกอบการ จังหวัดมหาสารคาม. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.

ปิยะนันท์ เรือนคำและคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 247-259.

ปทุมมา ลิ้มศรีงามและคณะ. (2564). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9), 18-33.

โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2565). ฟิตร่างกายสู้ covid-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/fit-fight-covid-19.

โรงพยาบาลบางกรวย. (2565). กินอย่างไรให้ปลอดภัยและห่างไกลจากโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 2 ธันวาคม 2565 จาก https://www.bangkruaihospital.go.th/.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2565). การกิน การดื่ม การสัมผัส covid-19. เรียกใช้เมื่อ 2 ธันวาคม 2565 จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/april-2020/safely-handling-food-beverage-covid.

Spielberger, C.D., Gorsuch,R.l.and Lushene,R.E. (1970). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory (Self Evolution Questionnaire). Polo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03