พระพุทธศาสนาเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สายป่าน จักษุจินดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กิตติพงษ์ โคตรจันทึก มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ประภัสสร ดาวะเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • พิศณี พรหมเทพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ศตวรรษที่ 21, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

สามเสาหลักของประเทศได้แก่  สถาบันชาติ สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนไทย อังนั้นหากต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นคือการทำให้สภาวะความพร้อมของบุคคลทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และด้านอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น ประกอบด้วย กายภาวนาหรือการพัฒนาด้านกาย ศีลภาวนาหรือการพัฒนาด้านศีล จิตภาวนา หรือการพัฒนาด้านจิต และปัญญาภาวนาหรือพัฒนาด้านปัญญา  เป็นการพัฒนาที่ทำให้เจริญก้าวหน้าและการพัฒนานั้นต้องดับทุกข์ได้ภายใต้หลักภาวนา 4 โดยปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธศาสนา คือการเข้าถึงพระพุทธศาสนา การเข้าใจคำสอนและนำคำสอนเหล่านั้นมาปฏิบัติ รวมถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่  หากแต่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เปิดโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและกว้างขวาง การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน หากเข้าถึงการศึกษาจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่จะส่งผลให้มีจิตใจที่ดี มีสติในการปฏิบัติงานและทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

References

พระครูสิทธิธรรมาภรณ์, พระสิริรัตนเมธี และ พระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน. (2563). พระพุทธศาสนากับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. Journal of Modern Learning Development, 5(3).

พระมหานันทวิทย์ ธีรภทโท (แก้วบุตรดี). (2558). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของชุมชนตามแนวทางพระพุทธศาสนา. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2557). พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหามจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). การสังคมสงเคราะห์ส่วนที่ยังขาดอยู่. นนทบุรี: พิมพ์ดี.

พระราชวรมุนี. (2537). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). รุ่งอรุณของการศึกษา : เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ ยั่งยืน/

_______. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระสมพร ฉนฺทสีโล (ท่าศิลา) พระโสภณพัฒนบัณฑิต และ โสวิทย์บำรุงภักดิ์และพระมหาสำรอง สญฺญโต. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในชุมชนบ้านหนองไฮ อำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม ตามหลักภาวนา 4. Journal of Modern Learning Development, 5(3).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ตถา

ตา พับลิเคชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03