การป้องกันการกระทำผิดวินัยตามหลักหิริ-โอตัปปะของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • รัชเดช มะลิทองดำรง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • กันตภณ หนูทองแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การป้องกัน การกระทำความผิด หลักหิริ-โอตตัปปะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการป้องกันการกระทำผิดวินัยตามหลักหิริ-โอตตัปปะของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มนครศรีธรรมราช 2) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการป้องกันการกระทำผิดวินัยตามหลักหิริ-โอตตัปปะของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มนครศรีธรรมราช ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากรจำนวน 1,753 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน วิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 รูป/คน แยกเป็น 1 รูป 4 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) การป้องกันการกระทำผิดวินัยตามหลักหิริ-โอตตัปปะของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มนครศรีธรรมราช  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.94 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หิริ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.10 รองลงมา คือ โอตตัปปะ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.05 และ 2) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า หิริ ทำให้คนเราเกิดความละอายแก่ใจ ไม่คิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น เพราะมีความละอายต่อบาปที่จะเกิดขึ้น จนสามารถชนะใจตนเองหยุดความชั่ว สอดคล้องกับ โอตตัปปะ ถ้าเราทำอะไรลงไป หากไม่ถูกต้องแล้วจะทำให้รู้สึกเกรงกลัวกระดากในใจตนเอง เรียกว่า ผิดจากธรรม ความละอายเกรงกลัวนี่เป็นต้นเหตุให้ทำความดี

 

References

กวีวรญาณ, พระ. (2502). วิชาศานา. กรุงเทพมหานคร : ส. ธรรมภักดี.

กรมราชทัณฑ์. (2565). ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก http://www.correct.go.th.

กรมราชทัณฑ์. (2560). พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2565.จาก http://www.correct.go.th/popmaha/image/Law%202560%20.pdf.

ชลลดา สอนศิริ. (2559). ความมีวินัยและแนวทางการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองขาม (ไตรราษฎร์อำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชัย ตันศิริ. (2551). อุดมการณ์ทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2531). สารานุกรมพระพุทธศาสนา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2545). การดําเนินงานตามยุทธศาสตรปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพองคการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03