การใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • พระกฤษดา ฐิตธมฺโม (แก้วประยูร) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กันตภณ หนูทองแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอปริหานิยธรรม, การป้องกันทุจริตคอร์รัปชั่น, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ 2) วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาหลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณและ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ทั้งหมดจำนวน 82 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่   ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (m) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนา

          1) การใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ทั้ง 7 ด้าน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m= 4.40, s = 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.76, s = 0.38)  รองลงมา คือ ด้านให้เกียรติและคุ้มครองสตรี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.53, s = 0.43) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m= 4.31, s = 0.55)  2) แนวทางในการพัฒนาหลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ พบว่า ควรมีการประชุมกันอยู่เป็นประจำภายในองค์กรเพื่อที่จะทำให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยพร้อมเพรียงกัน ควรสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรในด้านการกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ควรมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรและผู้บังคับบัญชา ควรมีการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ควรมีการส่งเสริมและรักษาประเพณีวัฒนธรรมให้กับบุคลากรในองค์กรมากขึ้นและควรมีการส่งเสริมสนับสนุนโดย ให้การอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน ศาสนาและมีการทำนุบำรุงศาสนามากขึ้น

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

ทองดี ศรีตระการ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอปริหานิยธรรม. วารสารปัญญาปณิธาน, 1(1), 2.

พระครูนิกรสุนทรกิจ. (2553). การศึกษาวิเคราะหเรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทวีป กลฺยาณธมฺโม. (2553). การศึกษาวิเคราะห์หลักกัลป์ยาณธรรมสำหรับการดำรงชีวิตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมุมจิตโต). (2544). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2545). องค์การและการจัดการ.กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมสาร จํากัด.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์. (2565). ข้อมูลสถิติประชากร. เรียกใชเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.thapo.go.th/content/information.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03