การสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • กันตภณ หนูทองแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, อย่างมีประสิทธิภาพ, นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้แบบผสานวิธี เชิงปริมาณและ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศชาย จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 50.20  ส่วนใหญ่อายุ 41-50 ปีจำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 33.00 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่มีการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 58.50 อาชีพส่วนใหญ่มีรับจ้างทั่วไป จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 43.30 รายได้ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,00120,000 บาท จำนวน 207 คนคิดเป็นร้อยละ 51.70 2) กระบวนการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองเพชรบุรีผ่านด้านผู้ส่งสาร Sender ด้านสาร Message ด้านสื่อหรือช่องทาง Channel ด้านผู้รับสาร Receiver อยู่ในระดับมาก (  = 4.37, S.D. = 0.46) 3) แนวทางการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นการเสริมสร้างกระบวนการทางการเมืองโดยให้ประชาชนได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐาน โดยยึดหลักในการพัฒนาพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีให้มีความมั่งคั่งในพื้นที่เพื่อเพิ่มความเป็นเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจที่ดีโดยมุ่งเน้น“ความสะอาดและปลอดภัย” ที่ดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพสูงสุดในรูปแบบทางสังคมที่ยั่งยืน

References

กฤติยา รุจิโชค. (2564). การสื่อสารทางการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณรัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล. วารสาร มจร พุทธปญญาปริทรรศน, (6)1.

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2560). ภาวะผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2549). การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธีและการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤต. การสื่อสารทางการเมืองหน่วยที่ 13. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระอธิการแสงอารุณ ชยาภินนฺโท (อ้อยผดุง) พระครูโสภณปริยัติสุธี และสหัทยา วิเศษ. (2565). การสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(3).

ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). การเมืองไทยและประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอรก็อปป.

สุรพล สุยะพรหม. (2562). การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2540-2560. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์. (2561). พุทธวิธีเชิงบูรณาการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการเมืองไทยปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 14(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03