การใช้หลักภาวนาธรรมต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน เขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ภาวนาธรรม, การส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาใช้หลักภาวนาธรรมต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองเเห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการประยุกต์ใช้หลักภาวนาธรรมต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง 251 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบโครงสร้างและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้หลักภาวนาธรรมต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองเเห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านจิตตภาวนา รองลงมา คือ ด้านกายภาวนาและด้านปัญญาภาวนา ด้านศีลภาวนา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาการประยุกต์ใช้หลักภาวนาธรรมต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การนำหลักภาวนาธรรมมาใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาในการใช้ชีวิตให้อยู่ดีมีสุข นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตที่ดีต่อไป
References
กันตยา มานะกุล. (2550). การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 12 เม.ย. 64 จาก http://www.dop.go.th.
ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการททำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน. กรุงเทพมหานคร.
ทวีทอง หงส์วิวัฒน์ และคณะ. (2545). พฤติกรรมสุขภาพรวมบทความจากการประชุมวิชาการพฤติกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร.
นิศารัตน์ ศิลปเดช. (2540). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพมหานคร : พิศิษฐ์การพิมพ์.
บุษยมาส สินธุประมา. (2539). สังคมวิทยาความสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1 เชียงใหม่ : โรงพิมพ์สา
ธรการพิมพ์.
คะนึงนิจ อนุโรจน์. (2539). แนวทางในการพัฒนาตนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ครั้ง
ที่ 34. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
ประภัสสร กิมสุวรรณวงศ์. (2555). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทาง
พระพุทธศาสนา วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาเขตขอนแก่น, 8(3).
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต วารสารเทคนิคการแพทย์
เชียงใหม่, 49(2).
คะนึงนิจ อนุโรจน์, แนวทางในการพัฒนาตนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 12 พ.ค. 63 จากhttps://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:NmUSNvlJ09gJ:https://www.gotoknow.org/posts/148813+&cd=50&hl=th&ct=clnk&gl=th.
ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์. (2565). กายหายไข้ใจหายทุกข์, เรียกใช้เมื่อ 12 พ.ค. 63 http://suchart.rmutl.ac.th/Misc/Churit.php.