“สองพะเคือ” ความเป็นมา และอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป

-

ผู้แต่ง

  • พจนวราภรณ์ เขจรเนตร สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นนทวรรณ แสนไพร สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เพ็ญพรรษา อุ้ยปัดฌาวงศ์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ศตวรรษ มะละแซม สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

หนังสือสองพะเคือ ความเป็นมา อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป

บทคัดย่อ

 บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาความเป็นมา และอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปในดินแดนดีสาน ที่ปรากฏ ในหนังสือ “สองพะเคือ” ฉบับวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ต้นฉบับบันทึกด้วยอักษรธรรมลาว – อีสาน บนแผ่นลานดิบ จำนวน 1 ผูก ประกอบด้วย 16 ลาน กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพุทธกาลของพระเจ้าประเสนชิตหรือพระเจ้าปเสนทิโกศล
ผู้ครองนครสาวัตถี แค้วนมคธ พร้อมกับการพรรณนาอานิสงส์ว่าด้วยการสร้างพระพุทธรูปจากวัสดุต่าง ๆ รวมแล้ว 14 ชนิด อันได้แก่ ใบไม้ ผ้า ดินจี่ ครั่ง ไม้ ปูน กระดูก หิน ตะกั่ว ทอง เงิน แก้ว ทองคำ และการนำวัสดุที่กล่าวมานำมารวมกันจัดสร้างเป็นองค์พระ ซึ่งพบว่า เนื้อหายังมีความคล้ายคลึงกับหนังสืออานิสงส์สร้างพระเจ้าที่นิยมในดินแดนล้านนา ที่หยิบยกเนื้อหาขึ้นต้นของเรื่องมาจากตำนานพระแก่นจันทน์ ตอนท้ายจึงพรรณาอานิสงส์ สำหรับหนังสือดังกล่าวในอดีตนิยมนำมาแสดงธรรมเทศนาฉลองสมโภชเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปของคณะผู้มีจิตศรัทธา ทั้งนี้ พระพุทธรูปจัดเป็นงานทัศนศิลป์ ในกลุ่มของอุเทสิกเจดีย์ที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธานุสติกับการเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยชาวอีสานเรียกพระพุทธรูปว่า “พระเจ้า” หรือ “ฮูปพระเจ้า” แสดงถึงการยกฐานะให้เป็นที่เคารพเหนือสิ่งอื่นใดอย่างไม่สงสัย อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่า หนังสือสองพะเคือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสารัตถะทางความคิดกับคติความเชื่อเกี่ยวกับ “การสร้างบุญ” ที่ประกอบด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่เป็นทัศนศิลป์ผสานกับความศรัทธาของพุทธศาสนิกเวทีชนผู้มีจิตศรัทธา ในการสร้างสรรค์รูปเคารพแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากวัสดุต่าง ๆ 

References

กัลยกร ลาภเดโช และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2565). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(1), 1-16.

กานต์ กาญจนพิมาย. (2565). การศึกษาวิเคราะห์พระพุทธรูปไม้อีสานเชิงปรัชญา. ใน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หอมหวล บัวระภา/บรรณาธิการ. พระไม้ลายมือ บรรพชนคนไทยอีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คัมภีร์ใบลาน. (ม.ป.ป.). ฉลองพะเคือ ฉบับวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 1 ผูก ประกอบด้วย 16 ลาน ต้นฉบับบันทึกด้วยอักษรธรรมลาว – อีสานบนแผ่นลานดิน เก็บรักษา ณ ห้องสมุดสกลนครศึกษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จังหวัดสกลนคร. (2559). พระพุทธองค์แสน สตสหัสสปฏิมานุสรณ์. เชียงใหม่ : หจก.วนิดาการพิมพ์.

ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. (2556). ภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ในล้านนาเพื่อการสร้างสรรค์พระพุทธปฏิมาร่วมสมัย. ใน ปร.ด.ภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำโขงและสาละวินศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธนูฤทธิ์ ดวงดี และสมเดช นามเกตุ. (2565). การพัฒนาภูมิปัญญาแห่งการเรียนรู้ด้วยพระไตรปิฎก.วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(3), 71-85.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2561). พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดเลย. เลย: เมืองเลยการพิมพ์.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2555). ตำนานพระพุทธรูปล้านนา. มหาสารคาม: หจก.อภิชาติการพิมพ์.

พระครูสกลปัญญาธร. (11 พ.ย.65). สองพะเคือ. (พจนวราภรณ์ เขจรเนตร, สัมภาษณ์)

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นานมีบุคส์.

วิทยา วุฒิไธสง. (2565).ความเป็นมาของพระไม้ในภาคอีสาน. ใน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หอมหวล บัวระภา/บรรณาธิการ. พระไม้ลายมือ บรรพชนคนไทยอีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2555). เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพมหานคร: มิวเซียมเพรส.

สิรีรัศมิ์ สิงห์สนธิ และพระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2563). พระพุทธรูป : การตีความเชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 88-98.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2558). พระพุทธรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29