ปัญหาการคุ้มครองสิทธิบัตรกรรมวิธีในการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีความคาบเกี่ยวเป็นการรักษาโรค

ผู้แต่ง

  • Lalita Somjainuk มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สิทธิบัตร, สิทธิบัตรกรรมวิธี, กรรมวิธีการศัลยกรรมเสริมความงาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบัตรกรรมวิธีในการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีความคาบเกี่ยวเป็นการรักษาโรค 2) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิบัตรกรรมวิธีในการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีความคาบเกี่ยวเป็นการรักษาโรค 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการคุ้มครองสิทธิบัตรกรรมวิธีในการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีความคาบเกี่ยวเป็นการรักษาโรค ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเอกสาร เน้นการวิจัยทางกฎหมาย

          ผลการวิจัยพบว่า 1) พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ มาตรา 9(4) กำหนดว่ากรรมวิธีที่เป็นการรักษาโรคไม่อาจขอรับความคุ้มครองได้ แต่มิได้กำหนดขอบเขตไว้อย่างชัดเจน ทั้งที่กรรมวิธีการศัลยกรรมเสริมความงามบางกรรมวิธีสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการเสริมความงามและรักษาโรค ซึ่งต่างจากกฎหมายสิทธิบัตรของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรที่มีการกำหนดขอบเขตกรรมวิธีการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีความคาบเกี่ยวเป็นการรักษาโรค แต่มีการกำหนดขอบเขตที่ค่อนข้างแคบและไม่สอดคล้องกับความหมายของการศัลยกรรมทางการแพทย์ที่แท้จริง 2) ด้วยความนิยมของการศัลยกรรมเสริมความงามในประเทศไทยส่งผลให้มีกรรมวิธีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น จึงควรให้ความคุ้มครองแก่กรรมวิธีการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีความคาบเกี่ยวเป็นการรักษาโรคเพื่อคุ้มครองผู้คิดค้นกรรมวิธี ไม่ควรปฏิเสธการคุ้มครองเพียงเพราะกรรมวิธีการศัลยกรรมนั้นนำไปใช้ในการรักษาโรคได้ 3) เมื่อประเทศไทยควรให้ความคุ้มครองแต่เพื่อไม่ให้เป็นการผูกขาดสิทธิแต่ผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิบัตร จึงต้องมีกลไกในการคุ้มครองสาธารณประโยชน์เพื่อให้สังคมสามารถใช้กรรมวิธีดังกล่าวให้แก่ผู้ป่วยได้โดยไม่เป็นการละเมิดสิทธิบัตร

References

กิตติ เย็นสุดใจ และคณะ. (2525). ศัลยกรรมตบแต่ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ป. สัมพันธ์พาณิชย์.

ทวีวิน ตันประยูร และคณะ. (2550). ตำราศัลยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น.

พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542.

ยรรยง พวงราช. (2543). คำอธิบายกฎหมายสิทธิบัตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิญญูชน.

Agreement on Trade-Related Aspect of Intellectual Property Rights: TRIPS. Cynthia M. Ho. (2000). Patent, Patients, and Public Policy: An Incomplete Intersection at 35 U.S.C 287 (c) Loyola University Chicago School of Law.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29