หลักพุทธธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ผู้แต่ง

  • พระมหาเกรียงไกร ฐิตวีโร นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

พุทธธรรม / การบริหารทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การต่างๆ ตามหลักพระพุทธศาสนา มีคำสอนของพระพุทธเจ้ามากมายที่ปรากฎในพระไตรปิฎกที่น่าศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ เพราะทรัพยากรมนุษย์จัดเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหาร หลายองค์การจึงให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงาน หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งหลักธรรมในพระพุทธศาสนา  ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคสมัยปัจจุบันเช่นเดียวกัน เพราะทำให้เรารู้จักและเข้าใจคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดี ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่ถือว่ายากที่สุด เพราะคนเรามีหลายประเภท หรือเปรียบเทียบกับดอกบัวสี่เหล่าที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเวไนยสัตว์จึงควรทราบหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งพระพุทธศาสนาได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน  ได้แก่ หลักอคติธรรม สังคหวัตถุธรรม พรหมวิหารธรรม อปริหานิยธรรม สาราณียธรรม และการปฏิบัติต่อกันด้วยหลักทิศ 6 เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาแก้ไขและปรับปรุงบทบาทของการบริหารคนในองค์การให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและที่กำลังจะตามมาในอนาคตได้เป็นอย่างดี  หลักธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น  ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล  นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา  2500  กว่าปีแล้ว  แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าวเป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า “สัจธรรม” ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริง อยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเราหรือการบริหารงานมากที่สุด

 

References

กนกพันธรน์ โลกุตรวงศ์. (2555). แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันและองค์การ. วารสาร TPA news 16 (184). 45. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.tpa.or.th/tpanews/index.php?id=55

ประวัติ พื้นผาสุก. (2549). คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระราชวิสุทธิโมลี (ทองดี สุรเตโช). (2525). หลักธรรมสำหรับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2549). พุทธวิธีในการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมราชานุวัตร. (2566). ครองตน ครองคน ครองงาน. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.banmuang.co.th/news/activity/211593

พระมหาจรูญ อภิธมฺมจิตฺโตและคณะ .(2562). การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ 3 นวัตกรรมทางการปกครองและการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2566 จาก http://econ.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2020/05/Article_Personal.pdf

รัตติกาล โสวะภาส. (2563). การพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพการทำงานสูงในศตวรรษที่ 21. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สุภาคย์ อินทองคง. (2550). การใช้หลักพุทธธรรมนำการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพองค์รวม. สงขลา: ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ (ศรช.).

Steers, RM, Ungson, G R & Mowday, R T. (1985), Managing Effective Organization: An Introduction, California, Kent Publishing Company

Bowing, R.B. and Harvey D. (2001). Human Resource Management an Experiential Approach. 2 nd Edition, Prentice Hall, Upper Saddle River.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29