รูปแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
รูปแบบนวัตกรรม, พัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อศึกษารูปแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 2)เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 ตัวอย่างคือ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ระดับชั้นละ 30 คน จำนวนทั้งหมด 200 คน และ บุคลากร จำนวนทั้งหมด 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า โดยใช้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสามารถหาได้จาก การหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีตำแหน่งในสถานศึกษาเป็นนักเรียน โดยรวม พบว่า ด้านการจัดการการศึกษาในภาพรวม จัดอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า ลำดับแรก คือ การสนับสนุน ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ในภาพรวม จัดอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อมูลความรู้หรือเนื้อหาวิชา ด้านผู้เรียนในภาพรวม จัดอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า ลำดับแรก คือ พัฒนาเทคโนโลยีในด้านความสามารถอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด
References
นุจรี ไพบูลย์. (2557). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. ใน การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรชัย อินอ้อย. (2562). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. ใน การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพชรา ชาญฟั่น. (2556). ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เครือข่ายโรงเรียนอำเภอพรหมพิราม 6 จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). วิทยาลัยทองสุข.
พูลสวัสดิ์ คำมุงคุณ .(2556).การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ใน การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ลภัสธยาน์ วรกฤติประเสริฐ. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2. ใน การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพรรษา บำรุง. (2556). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ใน การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุลัดดาวัลย์ อัฐนาค. (2557). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานีเขต 3. ในวิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.