แนวทางในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวสัญชาติไทย ที่มีต่อมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัย (SHA) ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พัก ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • จำนงค์ บุตรสงค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • วลัยพร ชิณศรี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, มาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัย, ไวรัสโคโรน่า

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษามาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัย (SHA) ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว และ 4) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็น นักท่องเที่ยวสัญชาติไทย จำนวน 384 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการศึกษา พบว่า 1) ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุและอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว แตกต่างกัน3) มาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัย (SHA) ด้านมาตรฐานสุขอนามัย ด้านการมีสื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านผู้ให้บริการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านสถานที่และอุปกรณ์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว พบว่า ควรประกาศมาตรฐาน SHA ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานของรัฐ เป็นป้ายให้นักท่องเที่ยวทราบถึงมาตรการและขั้นตอนต่างๆ เพิ่มมาตรการการบริการและคุณภาพของสินค้าในสถานประกอบการ รักษามาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในทุกๆ มิตินอกเหนือไปจากมาตรการในการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). แผนการดำเนินงานโครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย.

เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2566 จาก http://123.242.157.9/document/fpdf-27052563-21.pdf

ปุญญาพร บุญธรรมมา. (2563). คุณภาพการบริการและพฤติกรรมการเข้าพักที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการโรงแรมขนาดกลางใน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิไลพรรณ ใจวิไล และเกศรา สุกเพชร. (2566). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15(1), 158-176.

ศุภัตรา ฮวบเจริญ. (2565). แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นต่อการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตโรคระบาด. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 17(1), 46-59.

สยามรัฐ. (2563). ประจวบฯ ชูหัวหินเมืองแห่งความสุข ขานรับนโยบายรัฐบาลฟื้นฟูการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 คลี่คลาย. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2566 จาก https://siamrath.co.th/n/188746.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing Research, 58(3), 20-38.

Puttachard Lunkam. (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2566 จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-future-of-tourism-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31