แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, พื้นที่ชายฝั่งทะเล, การพัฒนาอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน และ 4) เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่อยู่ติดชายทะเลในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จำนวน 391 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน แตกต่างกัน 3) ปัจจัยในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล ด้านการตระหนักในการพัฒนา ด้านผู้นำชุมชน ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 4) แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน พบว่า ควรส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ควรมีการค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับชายฝั่งทะเลในพื้นที่ ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวชายหาด รวมทั้งควรทำประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). ข้อมูลทรัพยากรทางทะเสและชายฝั่ง จังหวัดเพชรบุรี. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมเจ้าท่า. (2565). เอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 9:00 น.-12:00 น. โครงการศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะสนับสนุนการท่องเที่ยวชายหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรมเจ้าท่า.
กำพล เลิศเกียรติดำรง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพื้นที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บานชื่น นักการเขียน และเพ็ญศรี บางบอน. (2559). การพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development. สิรินทรปริทรรศน์, 17(2), 64-69.
ประภัสสร ทองยินดี. (2556). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนของประชาชนตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 1, 917-925.
พระทองมี อํสุธโช (แอมไธสง). (2561). ความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชายเลน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธินันท์ บุญเรือง. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมชาย ยีโดบ. (2560). แนวทางการพัฒนาป่าชายเลนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ของตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2559). แนวพระราชดำริ. “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ประโยชน์สุขสู่ประชาชน. สถาบันพระปกเกล้า, กันยายน-ธันวาคม 2559, 51-64.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.