การบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ สัธนานันต์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิพร เกตุแก้ว วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วรเดช จันทรศร วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การท่องเที่ยว, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการเรื่องการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน พร้อมนำเสนอแนวคิด วิธีการ และแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ ผ่านมุมมองตามแนวคิดการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ การจัดการด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว และการจัดการด้านการท่องเที่ยว และแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ตามความเหมาะสม รวมทั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถปรับปรุงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้ดียิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การยกระดับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืนในอนาคต

            จากการศึกษาพบว่า การที่จะบริหารจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น ต้องมีการจัดการด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว และการจัดการด้านการท่องเที่ยว โดยต้องควบคุม ดูแล การดำเนินงานการจัดการแหล่งท่องเที่ยว บูรณาการร่วมกับแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืนต่อไป

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

กรมการท่องเที่ยว. (2559). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2566 จาก https://mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12288.

ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2555). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทินวัฒน์ แสงศิลา และเขมณัฐ ภูกองไชย. (2563). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหิน บ้านดงคำโพธิ์ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 189-202.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2561). การพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศรัณย์ สัธนานันต์. (2566). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(4).

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2564). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.sdgmove.com/2021/07/31/sdg-vocab-41-sustainable-tourism/

สนิท บุญราศี. (2565). รูปแบบการจัดการต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลาในอนาคต. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Shirley, E. (1992). Beyond the green horizon, principles for sustainable tourism. Surrey: Word Wide Fund for Nature (WWF).

Swarbrooke, J. & Horner, S. (1999). Consumer Behavior in Tourism. Oxford: Butterworth Heinemann.

World Tourism Organization. (1998). Guide for Local Authorities on DEVELOPMENT SUSTAINABLE TOURISM. Madrid: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31