ภาวะผู้นำวิถีพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำวิถีพุทธ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาภาวะผู้นำวิถีพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน โดยพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างก่อนการเริ่ม ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ภาวะผู้นำวิถีพุทธ คือ ผู้ที่มีความรอบรู้ความสามารถความรับผิดชอบในการทำงานด้วยคุณสมบัติที่เหมาะกับการเป็นผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ได้แก่ 1. มีจิตใจเผื่อแผ่ผู้บริหารต้องมีพฤติกรรมมีความหวังดีเพื่อให้ผู้อื่นมีความสุข 2. มีความหวังดี มีความหวังดีให้ความรู้ใหม่ๆด้านเทคโนโลยีกับผู้ใต้บังคับบัญชา และเอาใจใส่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ 3. มีความยินดี ไม่ทอดทิ้งผู้ใต้บังคับบัญชาในเวลาที่มีปัญหา โดยการส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ และนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ 4. การวางตนเป็นกลาง ผู้บริหารต้องทำใจให้เป็นกลางตั้งอยู่บนความยุติธรรม ทำงานเป็นทีมเดียวกันไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกในการใช้เทคโนโลยี ไม่เอนเอียงเข้าข้างความสามารถของใครคนใดคนหนึ่ง ให้คำวิจารณ์หรือคำแนะนำกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความยุติธรรม
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2012). Super Leadership : สุดยอดภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสพับลิชชิ่ง
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพปริยัติเมธี (สฤษฏิ์ สิริธโร). (2553). ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี และโกวิท จันทะปาละ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5 (3), 245-259.
สุวิน สุขสมกิจ. (2549). พุทธปรัชญากับการสร้างเสริมภาวะผู้นำ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้นำระดับกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดกาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัขราธร สัมณีโชติ, (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึ่งประสงค์ของชุมชน.ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตมหาจุฬาขอนแก่น, 6(3),634-644.