การพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

ผู้แต่ง

  • จิตรกร บุญอาจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประสงค์ หัสรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัล, หลักกัลยาณมิตรธรรม 7

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 175 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านครุ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านคมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา 3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ที่มีตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครู โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 4. แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของครู พบว่า ครูต้องเป็นผู้ให้ความสนิทสนมแก่ผู้เรียน พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย

References

ชานนท์ คำปิวทา. (2555). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียน มัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เดือนฉาย เงางาม. (2565). ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6 (1), 39-40.

นารีรัตน์ กว้างขวาง. (2561). การบริหารงานโรงเรียนโดยใช้หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย (แสนยโยธิน). (2562). หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในพระไตรปิฎกสำหรับครู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 (พฤศจิกายน 2562), 4201.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 36). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระสมพล กิตฺติเมธี (เชื้อกล้า). (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในยุคดิจิทัล รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนคอนสารวิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย (แสนยโยธิน). (2562). หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในพระไตรปิฎกสำหรับครู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4199-4200.

Chaleysub, S. (2009). Phol: Thamhai hongsamut pen mak kwa “Hongsamut” In Hongsamut kansưksa wichachip bannaraksasat lae sarasonthet sat nai yuk kan plianpleang. Bangkok:Thai Library Association. 2009, pp.70-88.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Oungvarakorn, S. (2015). Khru: Apiwat kan rianru sukhunnaphap kansưksa nai satawat thi yisipet. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2(1), 2015, pp. 65-78.

Thailand Knowledge Park. (2014). Khid ruang sangkhom than khwamru kanchatkan khwamru kan rianru nai yuk dichithan. In Winithakun, W. (Ed.). Ruam mit khit rưang kan rianru, 2014, 3-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31