การพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

ผู้แต่ง

  • ภาคินัย อุ่นแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปริยัติคุณรังษี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การขับเคลื่อนการบริหารคุณภาพการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดิจิทัลของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการด้านยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา มุ่งเพิ่ม และขยายช่องทางการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในการเรียนการสอนเพื่อสร้างความคุ้นเคย และยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนสำหรับเป็นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ หลักความคุ้มค่า ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ หลักความรับผิดชอบ และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรมีการกำหนดข้อบังคับถูกต้องเป็นธรรม เปิดโอกาสให้คณะครูและนักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และปรับปรุงกฎระเบียบเหมาะสมกับสถานการณ์ ยึดมั่นในความถูกต้องดีงามปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน สร้างมนุษย์สัมพันธ์ และมีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เปิดโอกาสให้คณะครู นักเรียน และประชาชนติดตาม ตรวจสอบแผนงานและโครงการต่างๆ ผ่านสื่อดิจิทัล และปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา เปิดโอกาสให้บุคลากร ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา เสนอความคิดเห็น และร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษา รับผิดชอบในการแก้ปัญหา ยอมรับข้อบกพร่องของตน แสวงหาแนวทางการแก้ไขการปฏิบัติงานเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และวางแผนการใช้วัสดุ และครุภัณฑ์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาและนักเรียนมีจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

References

ธัญลักษณ์ วงเครา. (2559). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วัฒนชัย ศิริญาณ, วิทยา เจริญศิริ, สัญญา เคณาภูมิ. (2560). องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 The Innovation Organization: The New Alternative for 21st Century Development. วารสารอินฟอร์เมชั่น Information, 24(2), 2560.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). ดุลอำนาจในการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อัญชลี โลเชียงสาย. (2565). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 1970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31