พรหมวิหารธรรมกับผู้บริหาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ ถิ่นศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมเดช นามเกตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญส่ง สินธุ์นอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เมตตา, กรุณ, อุเบกขา, มุทิตา

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการองค์กรแบบกว้าง ๆ โดยการนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของผู้บริหาร เพื่อเทียบเคียงกับบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารที่มีคุณธรรม เป็นที่เคารพรัก และเชื่อถือกันต่อบุคลากรในองค์กรสังคมปัจจุบันประกอบไปด้วยบุคคลที่หลากหลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาทั้งไป ที่หมายถึงมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งร่วมทั้งเพศชายและเพศหญิง อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกัน ต่างบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป เมื่อมีการดำเนินชีวิต และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ที่เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ บุคคลย่อมมีลักษณะนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน มีแนวคิดที่เป็นของตนเอง มาร่วมกันปฏิบัติ อย่างเช่นหลักธรรมที่สำคัญตามแต่และศาสนาที่ตนเองนับถือ  ผู้บริหาร หรือ ผู้นำ ในแต่และองกรณ์นั้น ๆ และมีคุณธรรมจริยธรรมในตัวผู้บริหาร ผู้บริหาร หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการต่อการสนับสนุนความพยายามในการทำงานของบุคคลคนอื่น ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารเป็นบุคคลที่คอยช่วยเหลือบุคคลอื่นให้ทำในสิ่งที่สำเร็จในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพมากขึ้นจนเกิดความพึงพอใจ ผลสำเร็จนี้เกิดจากการที่ผู้บริหารได้ใช้แนวคิดการบริหารแบบใหม่ คือ การช่วยเหลือ และการสนับสนุน มากกว่าที่จะใช้แนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิมที่เน้นการสั่งการ และการควบคุม ยิ่งไปกว่านั้น ในองค์การสมัยใหม่ผู้บริหารจะถูกกำหนดบทบาทให้เป็นผู้ประสาน ผู้สอน และเป็นผู้นําทีม การบริหารด้วยหลักคุณธรรมเป็นสิ่งที่พึงมีในตัวผู้บริหารทุก ๆ คนโดยเฉพาะหลักพรหมวิหารธรรมที่ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เพื่อให้เป็นที่เคารพรัก และ ศรัทธา

References

จุรีพรกาญจนการุณ. (2552). คุณธรรมจริยธรรมและการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม, 1(1).

พระราชวรมุนี. (2525). พุทธศาสน์กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคิมทอง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงเดือนพันธุมนาวินและเพ็ญแขประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทยรายงานการวิจัยฉบับที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. เสริมสิน ฟรีเพรส. กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.

วิทย์ วิศทเวศย์. (2525). อนัตตาในพุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิพิธวิทยา.

ศิณาภรณ์หู้เต็ม. (2552). พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาลัยราชพฤกษ์วิทยาลัยราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31