อาชีพเกษตรตามแนวพุทธศาสน์

ผู้แต่ง

  • มุจจรินทร์ ทัศดรกุลพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมเดช นามเกตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญส่ง สินธุ์นอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อาชีพ, เกษตร, แนวพุทธศาสน์

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ส่งเสริมให้มนุษย์พัฒนาตนเอง ให้สมบูรณ์สูงสุด โดยใช้พระธรรมเป็นเครื่องมือในการฝึกฝนและมีพระสงฆ์เป็นผู้ยืนยันความจริงดังกล่าว พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญที่จะนำกิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาใช้กับงานพัฒนา ตัวอย่างเช่นคำสอนที่กล่าวว่า“อุฏฐาตา วินฺทเต ธนํ”ผู้มีความขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ การประกอบอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการค้าขาย รับราชการ เกษตรกรรม ปกครอง ลูกจ้าง หรือศึกษาหาความรู้ ก็ทำอย่างสุดความสามารถ จนสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ คือ ความสำเร็จในหน้าที่การงานตามที่ทำอยู่ กับหลักศีลธรรม และกฎหมายบ้านเมือง ชุมชนให้เจริญพร้อมทั้งกายกับจิตและสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม บุคคลควรนำหลักธรรมเป็นเป้าหมายในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาเศรษฐศาสตร์แนวพุทธฉะนั้นพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์จะต้องเป็นไปในทางที่ไม่เบียดเบียนตน แต่ให้เป็นไปในทางพัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมคุณภาพชีวิตนั้นด้วยคุณธรรม การเกษตรแนวพุทธศาสน์ที่ถือเอาแม่แบบในการดำเนินกิจกรรมทั้งปวงด้วยหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ คือประโยชน์ในปัจจุบันที่คฤหัสถ์พึงถือเอามาปฏิบัติในการทำงาน คือมีความขยันหมั่นเพียร ขยันไม่เกียจคร้าน รู้จักรักษาปกป้องและดูแลกิจการที่ตนดำเนินการอยู่ให้ปลอดภัย หรือมีผู้แนะนำที่ดีและรู้จักใช้จ่ายทรัพย์ในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมแก่อัตภาพของแต่ละครอบครัว หลักสำคัญ 5 ประการ กล่าวคือ (1) ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี (2) ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด (4) ด้านเทคโนโลยี (5) ด้านเศรษฐกิจ คือจะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2536). เกษตรยั่งยืน: อนาคตเกษตรไทย, กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม. (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ ลาภธนานันท์. (2529). บทบาทของพระสงฆ์ในงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานครสถาบันวิจัยสังคม: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิชัย พันธเสน. (2547). พุทธเศรษฐศาสตร์. วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

พระมหาจุลศักดิ์ จิริวฑฒโน. (2548). แนวคิดและวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจแนวพุทธของปราชญ์อีสาน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสังเวียร ปญฺญาธโร. (2550). บทบาทของพระสงฆ์ในการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษา พระครูสุภาจารวัฒน์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31